รายการตอบโจทย์ โดยสุทธิชัย หยุ่น ทางไทยพีบีเอส เมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2566 ได้เชิญนพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และศิริกัญญา ตันสกุล สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เพื่อร่วมสนทนาประเด็นนโยบายดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศ ว่าท้ายที่สุดแล้วรัฐบาลจะเอาเงินงบประมาณทำโครงการมาจากไหน และประโยชน์ที่ประเทศจะได้จากโครงการเป็นอย่างไร โดยแต่ละฝ่ายต่างกันถึงเหตุผลและความจำเป็น มีประเด็นสำคัญดังนี้
พ.ร.บ.เงินกู้จะผ่านไหม? / สถานการณ์เศรษฐกิจในตอนนี้เป็นอย่างไร?
ศิริกัญญา ตันสกุล สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
- คิดว่าจะกู้ไม่ผ่าน เพราะการกู้เงินตามมาตรา 53 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ บอกว่า ‘กู้เงินได้ก็ต่อเมื่อ จำเป็น เร่งด่วน แก้ไขวิกฤตอย่างต่อเนื่อง และตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีไม่ทัน’ ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันไม่เข้าองค์ประกอบที่กล่าวมา
- คำว่า วิกฤต ถ้านิยามตามทางเศรษฐศาสตร์คือ มีการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างฉับพลันทันทีและต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง
- เช่น ตอนออก พ.ร.ก.เงินกู้ในช่วงโควิด
- ตอนนี้เศรษฐกิจแย่จริง แต่ไม่รู้ว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาจะถือว่าเป็นวิกฤตไหม
- ไม่จำเป็นต้องมาถกกันวันนี้ ถ้าสามารถทำได้ผ่านงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามที่พรรคเพื่อไทยได้หาเสียงไว้
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- สถานการณ์ตอนนี้วิกฤตจริง เห็นได้จาก
- การตกของ GDP ช่วง 2563 ตกหนักที่สุดและฟื้นช้าที่สุด
- ตัวเลขหนี้ต่อครัวเรือน เพิ่มเป็น 91.6% อยู่ที่อันดับ 7 ของโลก
- เศรษฐกิจไม่ได้ดีอย่างที่คนอื่นบอก (จากตารางแนบแถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินไตรมาส 3 ปี 2566 ธนาคารแห่งประเทศไทย)
- อัตราร้อยละการใช้กำลังการผลิตลดลง
- ดัชนีการใช้จ่ายลดลง
- ยอดจดทะเบียนยานยนต์เพื่อการลงทุนในประเทศลดลง
-
- อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มสูงขึ้น
- มีรายงานจากต่างประเทศว่า อัตราการฆ่าตัวตายเกี่ยวข้องกับเรื่องเศรษฐกิจ
- อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จเพิ่มสูงขึ้น
ศิริกัญญา ตันสกุล สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
- เห็นด้วยว่า เศรษฐกิจตอนนี้แย่จริง
- ตั้งคำถามว่า การเติมเงินแก้ปัญหาตรงเหตุจริงไหม?
- สาเหตุที่ประเทศไทยฟื้นตัวหลังโควิดช้ากว่าประเทศอื่น วิเคราะห์ว่าส่วนหนึ่งมาจากเศรษฐกิจไทยพึ่งพิงเศรษฐกิจจีนมากเกินไป ใน 2 เรื่อง คือ การส่งออก และการท่องเที่ยว
- หากมีการกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว อาจช่วยลดหนี้ครัวเรือนได้บางส่วน แต่ถ้ายังไม่แก้สินเชื่อไม่เป็นธรรมกับลูกหนี้ ไม่มีการปรับโครงสร้างหนี้อย่างเร่งด่วน ไม่มีพ.ร.บ.ล้มละลายอย่างสมัครใจ ก็ไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาอย่างตรงเหตุ เพราะหนี้ครัวเรือนไม่ได้พึ่งโตในวันนี้
- ตั้งคำถามว่า การเติมเงินจะช่วยแก้ปัญหาได้จริง?
- ที่อัตราร้อยละการใช้กำลังการผลิตลดลง ส่วนหนึ่งมาจาก demand ต่างประเทศลดลง ถ้ากระตุ้นในประเทศก็ไม่รู้ว่าที่ผลิตเพิ่มจะขายในประเทศด้วยไหม หรือส่งออกอย่างเดียว
- ยอดจดทะเบียนยานยนต์ เป็นเรื่องของการลงทุนที่โตต่ำมานาน ไม่รู้ว่าการกระตุ้นการบริโภคครั้งนี้ จะช่วยกระตุ้นการลงทุนจริงไหม
- ตั้งคำถามว่า ตอนแรกที่ออกนโยบาย ยังไม่มีตัวเลขสถานการณ์เหล่านี้ ตอนนี้สถานการณ์แย่ลง แพคเกจควรใหญ่กว่าเดิมรึเปล่า ทำไมงบประมาณถึงเล็กลงไปเล็กน้อย? และตอนนี้โครงการยังหน้าตาเหมือนเดิม ตอนนั้นคิดว่าไม่วิกฤต เลยไม่ต้องกู้ ตอนนี้วิกฤตแล้ว เลยต้องกู้?
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- เห็นแนวโน้มตั้งแต่ตอนแรกแล้ว มาวันนี้ตัวเลขยิ่งสะท้อนชัด และคาดการณ์ว่าอนาคตยิ่งหนักกว่าเดิม
ทำไมออกเป็น พ.ร.บ.เงินกู้?
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- ต้องออกเป็นกฎหมาย เพราะธนาคารแห่งประเทศไทยบอกว่า ถ้าจะออกนโยบาย digital wallet วันที่เริ่มต้นต้องมั่นใจว่ามีเงินพอกับจำนวนเต็ม
- ต่างกับที่ตอนคิดตอนแรกที่จะหางบประมาณมาจ่ายชดเชยทีหลัง
- หาทางออกประมาณพักหนึ่ง จบที่การออกพ.ร.บ.เงินกู้
ถ้าเร่งด่วน ทำไมไม่ออกเป็น พ.ร.ก.?
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- ตอนนี้เร่งด่วนจริง แต่ถ้าปลอดภัย ถูกต้องตามกฎหมาย และชอบธรรมที่สุด คือการออกพ.ร.บ. เพื่อให้สภาช่วยกันดูแลได้
ศิริกัญญา ตันสกุล สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
- คณะกรรมการกฤษฎีกาอาจจะมีคำถามตามมาว่า
- ถ้าเร่งด่วน ทำไมออกเป็นพ.ร.บ.
- หรือต่อให้ออกเป็นพ.ร.บ. ทำไมช่วงระยะเวลาโครงการต้องรอถึงเดือน พ.ค. ทั้งที่ตอนนี้บอกว่าสถานการณ์วิกฤตแล้ว
รู้ตอนไหนว่าต้องใช้วิธีกู้เงิน?
ศิริกัญญา ตันสกุล สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
- ตั้งคำถามว่า ทราบตอนไหนว่าไม่สามารถใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ ตอนส่งกกต.ไม่ได้บอกว่าเอาเงินมาจากไหนบ้าง บอกแค่เอามาจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือเพราะตัด / เกลี่ยงบจริงถึงรู้ว่าทำไม่ได้
- มีข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ตอนจะยื่นเอกสารกับกกต. มีการถกกันระหว่างฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทยและฝ่ายเศรษฐกิจของพรรคเพื่อไทยว่าจะใส่คำว่า ‘กู้เงิน’ หรือไม่
- แสดงว่ารู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถทำได้โดยที่ไม่กู้
- ทางฝ่ายกฎหมายของพรรคเพื่อไทยบอกให้ใส่ไปไว้เลยว่า จำเป็นที่จะต้องกู้ แต่ฝ่ายเศรษฐกิจบอกว่า อย่าเลย เดี๋ยวเสียคะแนนนิยม
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- ไม่เคยได้ยิน บางทีการปล่อยข่าวอาจจะไม่ตรงกับความจริง
ศิริกัญญา ตันสกุล สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
- แสดงว่าไม่เคยคิดจะกู้ตั้งแต่ต้น และคิดว่าจะใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี
GDP / การหมุนเงิน / หนี้สาธารณะต่อ GDP?
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- ข้อมูลสถิติการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคทั้งหมดที่เพิ่มขึ้นเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1 หน่วย (MPC) ของประเทศไทย พบว่า
-
- ครอบครัวรายได้เฉลี่ย 7,100 บาทต่อเดือน มีการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคอยู่ที่ 0.8 (หมุน 5 รอบ)
- ครอบครัวรายได้เฉลี่ย 12,343 บาทต่อเดือน มีการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคอยู่ที่ 0.7 (หมุน 3.3 รอบ)
- ครอบครัวรายได้เฉลี่ย 18,247 บาทต่อเดือน มีการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคอยู่ที่ 0.6 (หมุน 2.5 รอบ)
- ครอบครัวรายได้เฉลี่ย 27,706 บาทต่อเดือน มีการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคอยู่ที่ 0.6 (หมุน 2.5 รอบ)
- ครอบครัวรายได้เฉลี่ย 64,807 บาทต่อเดือน มีการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคอยู่ที่ 0.2 (หมุน 1.25 รอบ)
- จึงตัดกลุ่มที่รายได้ 70,000 บาทต่อเดือนออก เนื่องจากมีการหมุนรอบน้อย
- มีโครงการ E-refund เพิ่มเติม เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย
- GDP ที่โตขึ้น คำนวณจาก 500,000 ล้านบาท คูณ 3.3 รอบ ได้ประมาณ 1.7 ล้านล้านบาท (ประมาณ 1% ของ GDP)
- รายงานของ UBS (Union Bank of Switzerland) โครงการนี้จะทำให้ฐาน GDP เพิ่มขึ้นประมาณ 1% เป็นอย่างน้อย
ศิริกัญญา ตันสกุล สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
- เห็นจากตัวที่กระทรวงการคลัง run ข้อมูลจากข้อมูลของสำนักสถิติน่าจะเป็นเรื่องจริง ที่คนมีรายได้น้อยได้เงินเพิ่มจะจ่ายเกือบหมด
- แต่วิธีการคำนวณ (ว่าหมุนได้กี่รอบ) ของนพ.พรหมินทร์ เป็นแบบง่ายที่สุด ใช้ในสถานการณ์ระบบปิด แต่ปัจจุบันไม่มีใครใช้วิธีการนี้
- ใช้ตัวคูณทางการคลังแทน ซึ่งไม่ถึง 3.3 เท่าแบบที่นพ.พรหมินทร์บอก
- สำนักงบประมาณของรัฐสภา ประเมินค่าไม่เกิน 1
- IMF ประเมินค่าทั่วโลกไม่เกิน 1
- หนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่ใช่ตัวที่น่ากังวล
- นอกจากนี้ ดูแค่หนี้สาธารณะต่อ GDP ไม่ได้ ต้องดูที่ภาระหนี้ ดูว่างบประมาณในแต่ละปี / รายได้จากภาษีในแต่ละปีพอผ่อนไหม
- การจะผ่อนให้หมดภายใน 4 ปี แต่ละปีจะยิ่งต้องจ่ายคืนค่อนข้างมาก
การจ่ายเงินที่กู้คืน?
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- มั่นใจว่าจ่ายได้ จ่ายครบในสมัยนี้ ไม่ทิ้งภาระให้ใคร
- ผู้ว่า(ธนาคารแห่งประเทศไทย) บอกไม่น่ามีปัญหาเรื่อง effect กับ rating ยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง
- ดอกเบี้ยรวม 30,000 ล้านบาท ใช้คืนภายใน 3 ปี
ศิริกัญญา ตันสกุล สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
- กู้ 500,000 ล้านบาท ระยะเวลา 4 ปี ดอกเบี้ย 2.6-2.7% ดอกเบี้ยต่อปี 13,000 ล้านบาท รวม 4 ปีจะเป็น 50,000 กว่าล้านบาท
มั่นใจไหมว่าจะกู้ได้? / มีแผนสำรองไหม?
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- ไม่คิดว่าจะไม่ผ่าน ทุกอย่างทำเป็นแพคเกจ ลดภาระค่าพลังงานไปแล้ว พักหนี้เกษตรกร เพิ่มการท่องเที่ยว วีซ่าฟรี การลงทุนจากบริษัทต่างประเทศ
- มีแผนสอง แต่ยังไม่ต้องใช้
ทิ้งท้าย
ศิริกัญญา ตันสกุล สส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล
- ส่วนตัวเคยทำงานเอกชน เวลากู้เงิน / พรีเซนต์จะทำโปรเจค มีการ forecast หลาย scenario เพื่อให้คนมั่นใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น
- รัฐบาลคิดโครงการ ควรมีคาดการณ์ผลตั้งแต่วันแรก บอกเป้าหมายแต่ละปี ผลที่จะได้จากโครงการจะเป็นยังไง
นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
- มีหลายตัวเลขที่สมมติขึ้นมา อยู่ที่ว่าเลือกเชื่อที่ตัวเลขไหน
- เราเชื่อของเราแบบนี้ เชื่อว่าแก้ปัญหา(เศรษฐกิจ)ได้
ไม่ว่านโยบายดิจิทัลวอลเล็ตจะเป็นอย่างไร หรือจะได้ไปต่อหรือไม่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศก็ยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่และสำคัญ จึงจำเป็นที่่จะต้องจับตามองนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลหลังจากนี้ว่าจะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้จริงหรือไม่ต่อไป