นโยบายทั้งหมด
สังคมสูงวัย
ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ผู้สูงอายุกลายเป็นนโยบายระดับรัฐบาลครั้งแรกที่มีบทบัญญัติไว้ว่าเป็นหน้าที่ของรัฐ จากนั้นมาทุกรัฐบาลก็มีนโยบายต่อประชากรผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพ และยิ่งสังคมไทยเริ่มเข้าสู่สังคมสูงอายุขั้นสุดยอด ทำให้รัฐบาลต้องมาดูแลมากยิ่งขึ้น
การทูตแบบสมดุล
รัฐบาลจะสร้างบทบาทในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุล ท่ามกลางความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่รุนแรงขึ้น
การพัฒนาครู
‘เรียนดี มีความสุข’ นโยบายการศึกษา โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. เพื่อลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษารวมทั้งผู้ปกครอง หวังยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษา 2 ข้อหลัก คือ การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต
การค้า
นโยบายการค้าของไทย เผชิญกับความท้าทายมากขึ้น จากสงครามการค้า ทำให้มีความเสี่ยงจากการแยกตัวของห่วงโซ่อุปทานโลก ซึ่งทำให้ไทยต้องเลือกข้างระหว่างสหรัฐ-จีน แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามดำเนินนโยบายเป็นกลางและประสานผลประโยชน์ทุกฝ่าย
แก้รัฐธรรมนูญ
รัฐบาลแถลงนโยบายว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 โดยจะมีการจัดทำประชามติ ตามแนวทางของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้วินิจฉัยมาโดยจะยึดถือเป็นหลัก
สนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ได้ออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30@30 เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) และให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้งชิ้นส่วนต่างๆ (EV Hub) ที่สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาคและของโลก
ใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ทหาร
ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา ประเด็น “ที่ดินกองทัพ” ได้รับความสนใจจากประชาชนอย่างมาก หลังจากพรรคก้าวไกลออกมาเปิดเผยพื้นที่ที่ดินในการครอบครองของกองทัพและการใช้ประโยชน์ในที่ดิน