ThaiPBS Logo

การค้า

นโยบายการค้าของไทย เผชิญกับความท้าทายมากขึ้น จากสงครามการค้า ทำให้มีความเสี่ยงจากการแยกตัวของห่วงโซ่อุปทานโลก ซึ่งทำให้ไทยต้องเลือกข้างระหว่างสหรัฐ-จีน แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามดำเนินนโยบายเป็นกลางและประสานผลประโยชน์ทุกฝ่าย

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

เร่งเจรจากรอบความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ (FTA) และเจรจาเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

ภาพรวม

อ่านเพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวล่าสุด

18. มิ.ย. 68 วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะทีมเจรจาฝ่ายไทย เพื่อแก้ปัญหากรณีสหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีตอบโต้กับประเทศคู่ค้า (Reciprocal Tariffs) เปิดเผยว่า วันนี้ (18 มิ.ย.2568) เวลาประมาณ 07.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ตนและทีมประเทศไทยได้เริ่มต้นการเจรจากับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ผ่านระบบวิดีโอ คอนเฟอร์เรนซ์ เป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ หลังจากที่สหรัฐฯ ตอบรับที่จะเจรจากับไทย โดยใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อรับฟังรายละเอียดข้อเสนอของสหรัฐฯ ที่ต้องการให้ไทยพิจารณาในการแก้ไขปัญหาการขาดดุลการค้า ซึ่งสหรัฐฯ ได้ยื่นข้อเสนอจำนวน 5 ข้อมาให้ไทย เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2568 ที่ผ่านมา

โดยข้อเสนอทั้ง 5 ข้อ เพื่อสร้างสมดุลทางการค้าระหว่าง 2 ประเทศ ประกอบด้วย

1. มาตรการทางภาษีและโควตา

2. มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี (NTB)

3. การค้าดิจิทัล (Digital Trade)

4. แหล่งกำเนิดสินค้า

5. ความมั่นคงภายในประเทศและด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ (Economic and National Security)

คำแถลงนโยบายของนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต่อรัฐสภา เมื่อ 12 ก.ย. 67 ระบุว่า “รัฐบาลของดิฉันจะแปลงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศมหาอำนาจไปสู่ยุทธศาสตร์ที่จะเสริมสร้างโอกาสให้ประเทศไทยและเกื้อกูลผลประโยชน์ของพี่น้องประชาชนมากที่สุด ดังนี้

1. รัฐบำลจะรักษาจุดยืนของการไม่เป็นส่วนหนึ่งของความขัดแย้งระหว่ำงประเทศ(Non-Conflict) และจะดำเนินความสัมพันธ์กับนานาประเทศอย่างจริงใจและสร้างสรรค์ในกรอบของกฎหมายระหว่างประเทศและบรรทัดฐานสากล โดยมีผลประโยชน์ของชาติเป็นแกนกลางสำคัญ และมุ่งมั่นที่จะทำงานร่วมกับนานาประเทศเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่งคั่งร่วมกัน (Active Promoter of Peace and Common Prosperity) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่แห่งโอกาสสำหรับคนไทยและชาวต่างชาติ เพื่อดึงดูดแรงงานทักษะสูง ผู้ประกอบการและนักลงทุนกลุ่มเป้าหมายเข้ามาเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย

2. รัฐบาลจะเดินหน้าสานต่อนโยบำยกำรทูต เศรษฐกิจเชิงรุก และการสร้าง Soft Power เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวระหว่างกัน โดยเฉพาะตลาดใหม่ ๆ เพื่อเสริมสร้างโอกาสความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจ และแก้ไขปัญหาที่ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระบบทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral)และเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศคู่ค้าสำคัญยกระดับมาตรฐานของประเทศ เพิ่มบทบาทประเทศไทยในเวทีโลกและเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ที่รัฐบาลของดิฉันจะสานต่อจากรัฐบาลชุดที่ผ่านมา

นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลนางสาวแพทองธาร ไม่มีความต่างจากรัฐรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่มีการกล่าวถึงนโยบายต่างประเทศสั้น ๆ ว่ารัฐบาลจะสร้างบทบาทในเวทีโลก ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่าง ๆ อย่างสมดุล ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญกระชับความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และรักษาบทบาทนำของประเทศไทยในภูมิภาคและอนุภูมิภาค รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศ องค์กรทางเศรษฐกิจและการพัฒนาระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงของประเทศไทย

รัฐบาลจะไม่ละเลยเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติรัฐบาลจะมุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคน อาทิ ความปลอดภัยทางถนน การลดอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม ควบคู่กับการสร้างสันติภาพและการปกป้องสิทธิมนุษยชน

นอกจากนี้ รัฐบาลจะสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเปิดประตูบานใหญ่สู่การค้าโลก ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยและสร้างข้อได้เปรียบให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการในประเทศ ทำให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎกติกาใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรัฐบาลจะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการและภาคการเงิน

ลำดับเหตุการณ์

  • จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ระบุ พิชัย ชุณหวชิระ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปเจรจาเรื่องภาษีกับสหรัฐฯ ในคืนวันนี้ ยืนยันคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชน  ดูเพิ่มเติม ›

    30 มิ.ย. 2568

  • เริ่มการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ระหว่าง ไทยและสหภาพยุโรป รอบที่ 6 ระหว่าง วันที่ 23-27 มิ.ย. ณ ประเทศไทย  ดูเพิ่มเติม ›

    23 มิ.ย. 2568

  • วุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ระบุ ทีมประเทศไทยได้เริ่มต้นการเจรจากับสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) เป็นครั้งแรกอย่างเป็นทางการ โดยสหรัฐฯ ได้ยื่นข้อเสนอ 5 ข้อมาให้ไทย  ดูเพิ่มเติม ›

    18 มิ.ย. 2568

  • กระทรวงพาณิชย์ เผยส่งออกไทย พ.ค. 68 เติบโต 18.4% สูงสุดในรอบ 38 เดือน ปัจจัยหลักการชะลอมาตรการภาษีสหรัฐฯ และความต้องการสินค้าเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น  ดูเพิ่มเติม ›

    18 มิ.ย. 2568

  • พิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ ระบุ ไทยเตรียมพร้อมเจรจากับสหรัฐฯ แล้ว โดยเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. ครม.เห็นชอบกรอบเจรจาที่เน้นสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา

    15 มิ.ย. 2568

  • รมว.คลัง เผย 5 ข้อเสนอไทยเจรจาสหรัฐฯ มุ่งจับมือหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ เพิ่มนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ เปิดตลาดสินค้าเกษตร คุมเข้มทางผ่านสินค้าประเทศอื่น และส่งเสริมลงทุนในสหรัฐฯ  ดูเพิ่มเติม ›

    14 พ.ค. 2568

  • ครม. อนุมัติแต่งตั้ง พิชัย ชุณหวชิร รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

    13 พ.ค. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุไทยส่งข้อเสนอไปให้สหรัฐฯ แล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาก่อนหยุดยาว รอวันนัดเจรจา

    13 พ.ค. 2568

  • พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ระบุไทยขอเลื่อนเจรจาสหรัฐฯ เพราะสถานการณ์มีความไม่แน่นอนสูง จึงต้องหารือเพิ่มและให้มีความชัดเจนมากที่สุด ว่าสหรัฐฯ ต้องการอะไรเพิ่มเติมจากที่ไทยเสนอหรือไม่

    22 เม.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า สหรัฐฯ เลื่อนเจรจากำแพงภาษีกับทีมไทยแลนด์ จากกำหนดการเดิมวันที่ 23 เม.ย. 68

    22 เม.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุว่า สหรัฐฯ นัดไทยวันที่ 23 เม.ย. เป็นการคุยกับระดับรัฐมนตรี โดยพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การคลัง จะไปพูดคุยก่อน  ดูเพิ่มเติม ›

    18 เม.ย. 2568

  • พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เผยไทยได้เตรียม 5 แนวทางแก้ไข เพื่อรับมือกับนโยบายภาษีของสหรัฐฯ

    8 เม.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกแถลงการณ์ท่าทีไทยต่อนโยบายสหรัฐฯขึ้นภาษี 36% เล็งเพิ่มนำเข้าสินค้าสหรัฐฯ ขณะที่ รมว.คลัง เตรียมเดินทางไปหารือหลายภาคส่วนในสหรัฐฯ  ดูเพิ่มเติม ›

    6 เม.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หารือ ดาโช เชริง โตบเกย์ นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรภูฏาน เป็นสักขีพยานในการลงนามความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-ภูฏาน ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ

    3 เม.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกฯ ออกแถลงการณ์ "ท่าทีของประเทศไทยต่อนโยบายการค้าสหรัฐอเมริกา" หลังสหรัฐประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยในอัตราสูงถึง 36% ระบุพร้อมเจรจาการค้า

    3 เม.ย. 2568

  • โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ ประกาศมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) และมาตรการภาษีศุลกากรแบบครอบจักรวาล (Universal Tarrifs) จะประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถูกเก็บภาษีสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น

    2 เม.ย. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เชิญสถาบันเอกชน กกร. หารือแนวทางรับมือผลกระทบจากนโยบายขึ้นภาษีของสหรัฐอเมริกา

    13 มี.ค. 2568

  • รัฐบาลตั้งเป้าหมายในการเป็นสมาชิก OECD อย่างเต็มรูปแบบภายในปี 2573 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่มีการกำหนดให้ประเทศไทยบรรลุการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ

    10 มี.ค. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี อยู่ระหว่างการเข้าร่วมงาน ITB Berlin 2025 ณ กรุงเบอร์ลิน สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 3-8 มี.ค. 68

    3 มี.ค. 2568

  • แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุรัฐบาลตั้งเป้าบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ภายในปี ค.ศ. 2030

    14 ก.พ. 2568

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อร่างความตกลงการค้าเสรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรปหรือเอฟตา (EFTA) โดยจะมีการลงนาม FTA ระหว่างการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่เมืองดาวอส

    13 ม.ค. 2568

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะเดินทางเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการ

    16 ธ.ค. 2567

  • น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคี นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 31 ประเด็นขยายเศรษฐกิจและนำเข้าสินค้าไทยเพิ่ม  ดูเพิ่มเติม ›

    16 พ.ย. 2567

  • รัฐบาลคาดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-เปรู เสร็จภายในปีหน้า ซึ่งปัจจุบันได้บรรลุความตกลงไปแล้ว 70%

    15 พ.ย. 2567

  • น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ระบุจะตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิค (Joint Technical Committee: JTC) เพื่อเจรจา MOU44 ไทย-กัมพูชา

    8 พ.ย. 2567

  • นายกรัฐมนตรีร่วมประชุมสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจลุ่มแม่น้ำโขง(GMS Summit) ครั้งที่ 8 และประชุมผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง(ACMECS)ครั้งที่ 10 ที่จีน

    6 พ.ย. 2567

  • มาธิอัส คอร์มันน์ เลขาธิการใหญ่ OECD เปิดตัว “กระบวนการเพื่อการเข้าเป็นสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในโอกาสมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ  ดูเพิ่มเติม ›

    30 ต.ค. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางร่วมการประชุมระดับผู้นำกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 3 (3rd Asia Cooperation Dialogue: ACD) ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ ระหว่าง 2–4 ต.ค. 67

    3 ต.ค. 2567

  • นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ย้ำสานต่อนโยบายรัฐบาลชุดก่อน

    17 ก.ย. 2567

  • คณะมนตรีองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งประกอบด้วย 38 ประเทศสมาชิก มีมติเอกฉันท์เห็นชอบเชิญประเทศไทยเข้าสู่กระบวนการเป็นสมาชิก

    17 มิ.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมงาน UBS Asian Investment Conference (AIC) 2024 ที่ฮ่องกง  ดูเพิ่มเติม ›

    29 พ.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum Future of Asia ครั้งที่ 29   ดูเพิ่มเติม ›

    24 พ.ค. 2567

  • เมื่อ 17-21 พ.ค. นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนอิตาลีอย่างเป็นทางการ

    17 พ.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ  ดูเพิ่มเติม ›

    16 พ.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เยือนสาธารณรัฐฝรั่งเศส ระหว่าง 15 - 16 พ.ค. 2567 และเยือนสาธารณรัฐอิตาลีอย่างเป็นทางการ และกิจกรรมคู่ขนาน ระหว่าง 17 - 21 พ.ค. 2567  ดูเพิ่มเติม ›

    15 พ.ค. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศแต่งรัฐมนตรี โปรดเกล้าฯ ‘มาริษ เสงี่ยมพงษ์’ เป็นรมว.ต่างประเทศคนใหม่   ดูเพิ่มเติม ›

    1 พ.ค. 2567

  • ปานปรีย์ พหิทธานุกร รมว.การต่างประเทศ ยื่นหนังสือขอลาออก จากตำแหน่ง หลังถูกปรับเหลือออกจากรองนายกฯ

    28 เม.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ เชค ฮาซีนา นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ เป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงร่วมกัน 5 ฉบับ   ดูเพิ่มเติม ›

    26 เม.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ตอบโต้การวิพากษ์วิจารณ์ถึงผลงานในการเดินทางเยือนต่างประเทศ ระบุใช้เวลากว่าจะเห็นผล ขอให้ผู้วิพากษ์วิจารณ์อย่าด้อยค่าประเทศไทย

    14 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.การคลัง และ โอลาฟ ชอล์ซ นายกรัฐมนตรีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี แถลงความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์  ดูเพิ่มเติม ›

    13 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และเอมานูว์แอล มาครง ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส แถลงกระชับความสัมพันธ์ทุกมิติ  ดูเพิ่มเติม ›

    11 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และคณะ เยือนสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและสาธารณรัฐฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 7-14 มี.ค. 2567

    7 มี.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และคณะ ร่วมประชุมผู้น่าอาเซียน-ออสเตรเลีย (Plenary) ณ นครเมลเบิร์น เครือรัฐออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ 4-6 มี.ค. 2567

    4 มี.ค. 2567

  • ไทย-กัมพูชา ลงนามและแลกเปลี่ยน MoU 5 ฉบับ ยกระดับความสัมพันธ์สู่การเป็น “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์”   ดูเพิ่มเติม ›

    7 ก.พ. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และคณะเยือนสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ระหว่างวันที่ 3-4 ก.พ. 2567 เพื่อเจรจาการค้าและร่่วมนามความตกลงการค้าเสรี (FTA)  ดูเพิ่มเติม ›

    3 ก.พ. 2567

  • มอบนโยบาย “การทูตเศรษฐกิจเชิงรุก” ในการประชุมเอกอัครราชทูต กงสุลใหญ่ ผู้ช่วยทูตฝ่ายพาณิชย์ และฝ่ายส่งเสริมการลงทุน   ดูเพิ่มเติม ›

    21 พ.ย. 2566

  • แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ระบุถึงนโยบายต่างประเทศจะสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตแบบ "สมดุล"

    11 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

สนับสนุนความเป็นหลายขั้วอำนาจ
การต่างประเทศของไทยได้รับการวางแผนเอาไว้ว่าจะต้องเป็นการทูตเพื่อประชาชนและเป็นการทูตเชิงรุก.

เชิงกระบวนการ

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
ร่วมมือระหว่างประเทศทั้งระบบทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral)และเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA)

เชิงการเมือง

บทบาทของประเทศไทย
รักษาความสัมพันธ์อันดีระดับทวิภาคีกับประเทศเพื่อนบ้าน และในระดับพหุภาคีของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้สมาคมอาเซียน.

บทความ

ดูทั้งหมด
ไทยจ่อเสียตลาดส่งออกรถยนต์ เซ่นภาษีทรัมป์

ไทยจ่อเสียตลาดส่งออกรถยนต์ เซ่นภาษีทรัมป์

สหรัฐฯ เก็บภาษีนำเข้ารถทั่วโลก 25% บีบผู้ผลิตหลายรายต้องหาตลาดใหม่ทดแทน Krungthai COMPASS ประเมินกระทบไทยทางอ้อม อาจเสียส่วนแบ่งตลาดสำคัญ จับตาออสเตรเลีย ซาอุดีอาระเบีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ขณะที่กำลังซื้อในประเทศยังคงอ่อนแอจากปัญหาเศรษฐกิจ หั่นประมาณการผลิตรถไทยปี 68-69 อยู่ที่ 1.4-1.45 ล้านคัน 

เศรษฐกิจไทยอาการหนัก ส่งออกต่ำ-ท่องเที่ยวซึม

เศรษฐกิจไทยอาการหนัก ส่งออกต่ำ-ท่องเที่ยวซึม

กสิกรไทย คาดปีนี้เศรษฐกิจไทยถดถอย จากภาคส่งออกมีแนวโน้มหดตัวลงลึกจากผลกระทบภาษีสหรัฐฯ และภาคการผลิตถูกดันจากสินค้าจีนทะลัก ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติลดลงไม่หยุดแต่ระดับต่ำสุดในรอบกว่า 1 ปีครึ่ง ประเมินงบรัฐบาล 1.57 แสนล้านบาทช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้จำกัด

ไทยเสี่ยงเงินฝืด จากภาษีทรัมป์ ฉุดเศรษฐกิจชะลอ สินค้าจีนทะลัก

ไทยเสี่ยงเงินฝืด จากภาษีทรัมป์ ฉุดเศรษฐกิจชะลอ สินค้าจีนทะลัก

สัญญาณร้ายเศรษฐกิจไทยมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามความเสี่ยงจากสงครามการค้า จากระเบียบเศรษฐกิจโลกปรับครั้งใหญ่จากนโยบายทรัมป์ ส่งผลกระทบความเชื่อมั่นทั่วโลก ขณะที่เศรษฐกิจไทยเริ่มได้รับผลกระทบชัดเจน จากนักท่องเที่ยวจีนลดลงและสินค้าจีนทะลัก มีความเสี่ยงกับภาวะเงินฝืดมากขึ้นตามจีน

โครงสร้างเศรษฐกิจไทยกำลังเปลี่ยน จากทุนต่างชาติไหลบ่า

โครงสร้างเศรษฐกิจไทยกำลังเปลี่ยน จากทุนต่างชาติไหลบ่า

สศช.ประเมินยอดจดทะเบียนเลิกกิจการและตั้งใหม่ของนิติบุคคลในไทย พบมีธุรกิจต่างชาติรายใหญ่เข้ามามากขึ้นตั้งแต่หลังโควิด-19 โดยเฉพาะจากจีน อาจส่งผลกระทบต่อเอสเอ็มอีของไทยมากขึ้น และชี้ให้ห็นว่ากำลังมีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างเศรษฐกิจไทย

สงครามการค้าล่าสุด ธปท.คาด "แรง-นาน" กว่าครั้งก่อน

สงครามการค้าล่าสุด ธปท.คาด "แรง-นาน" กว่าครั้งก่อน

แบงก์ชาติประเมินล่าสุด ผลกระทบนโยบายทรัมป์ 2.0 ต่อเศรษฐกิจ กระทบรุงแรงและยาวนานกว่านโยบายทรัมป์ 1.0 แต่ยังน้อยกว่าวิกฤตการเงินปี 2552 ประเมินเลี่ยงผลกระทบยาก ประเมินจีดีพีกระทบน้อยสุด 0.4% แต่มากสุดถึง 1%

สุดยอดผูกขาด! บริษัท 5% มีรายได้ 85% ของประเทศ

สุดยอดผูกขาด! บริษัท 5% มีรายได้ 85% ของประเทศ

เปิดรายงาน OECD เผยธุรกิจในไทยกระจุกตัวและขาดการแข่งขัน บริษัท 5% มีรายได้กว่า 85% ของประเทศ ยก 4 ภาคธุรกิจของไทย “สื่อสาร-พลังงาน-ธนาคาร-ประกันภัย” มีปัญหาผูกขาด กระจุกตัว และแข่งขันต่ำ เนื่องจากปัญหาด้านกฎหมาย และไม่มีการเปิดเผยข้อมูล อ้างความลับธุรกิจ