นโยบายทั้งหมด
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ คือ ปัญหาที่ไทยและทั่วโลกให้ความสำคัญและพยายามหาทางรับมือแก้ไข โดยรัฐบาลประกาศสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality (ความเป็นกลางทางคาร์บอน) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยในปี 2567 ได้เข้าร่วมประชุม COP29 เพื่อแสดงบทบาทความร่วมมือกับประชาคมโลก
ทรัพยากรน้ำ
การบริหารจัดการน้ำตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 กำหนดให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่จัดทำนโยบายและแผนแม่บทเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำในระยะ 20 ปี
ระบบสุขภาวะทางจิต
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยนับวันจะมีมากขึ้นในทุกช่วงอายุ นโยบายเพื่อแก้ปัญหามาจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก โดยรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้บรรจุนโยบายด้านสุขภาพจิตไว้เป็น 1 ในนโยบาย "ยกระดับ 30 บาทพลัส" แต่จะสามารถคลี่คลายปัญหาได้หรือไม่ ในเมื่อสุขภาพจิตเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคมเศรษฐกิจในวงกว้าง
สภาพแวดล้อมที่เอื้อทำธุรกิจ หรือ Business Ready (B-READY)
รัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อความสะดวกในการประกอบธุรกิจเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่เป็นข้อจำกัดอุปสรรค ในขณะที่ธนาคารโลกเตรียมใช้การประเมินใหม่ คือ Business Ready (B-READY) แทน Doing Business
มลพิษทางอากาศ
รัฐบาลผลักดันร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ.....เพื่อบริหารจัดการและควบคุมกิจกรรมที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศในทุกมิติ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไฟป่า ที่กระทบต่อสุขภาพคนไทย โดยมีการเสนอถึง 7 ร่างให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา
ขนส่งสาธารณะ
นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย (หรือ การปรับลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 20 บาท) เป็นหนึ่งในนโยบายปฏิบัติการเร่งรัด (Quick Win) ของรัฐบาลในด้าน “คมนาคม เพื่อความอุดมสุขของประชาชน” เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน
ลดค่าครองชีพ
“นโยบายเร่งด่วนถัดมา คือ การลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานให้แก่ประชาชน อันเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตและเศรษฐกิจ รัฐบาลจะสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการราคาพลังงาน ทั้งค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในทันที" - คำแถลงนโยบายของนายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา ในวันที่ 11 ก.ย. 2566
อนามัยเจริญพันธุ์
นโยบายส่งเสริมการมีบุตรเป็นหนึ่งใน 13 นโยบายยกระดับ 30 บาทพลัส ที่เตรียมผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ หวังเพิ่มอัตราการเกิดของเด็กที่มีคุณภาพ สร้างความเข้าใจการมีบุตรเมื่อพร้อม และสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม “มีลูก มีแต่ได้” สร้างคลินิกส่งเสริมการมีบุตร จังหวัดละ 1 แห่ง ภายในสิ้นปี 2566
ซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power)
รัฐบาลให้ความสำคัญกับการส่งเสริมซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ของประเทศ เพื่อพัฒนาแรงงานทักษะสูง สร้างงานและรายได้ ขยายอุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่งเสริมการส่งออก และผลักดันประเทศไทยให้เป็นประเทศชั้นนำของโลกด้านซอฟต์พาวเวอร์