ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 เสียชีวิต แม้ไม่ได้เกิดจากสถานที่ทำงาน สำนักงานประกันสังคมก็จะจ่ายเงินค่าทำศพ และเงินสงเคราะห์ให้กับทายาท หากมีเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การได้สิทธิประโยชน์ตามที่กำหนด โดยแต่ละมาตรามีสิทธิประโยชน์แตกต่างกัน
อุตสาหกรรมไทยกำลังล้มเหลวจากความเสี่ยงหลายด้าน ทั้งเทคโนโลยี กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม และสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ทำให้ 7 เดือนแรกปี 67 ปิดโรงงานแล้ว 757 แห่ง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา สภาพัฒน์แนะมาตรการเร่งช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้สามารถอยู่รอดได้อย่างมั่นคง
ไทย-เกาหลี เตรียมลงนามบันทึกความเข้าใจแก้ปัญหาแรงงานเข้าประเทศผิดกฎหมาย หรือ ผีน้อย เพื่อทำให้เกิความชัดเจนในกระบวนการทำงาน ตั้งแต่การจัดหา จนถึงพำนักในเกาหลี
เช็กสิทธิประโยชน์ผู้ประกันตน ม.33 และ ม.39 สามารถเบิกค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย 1.5 หมื่นบาท/ครั้ง พร้อมค่าตรวจ และค่าฝากครรภ์ เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 5 ครั้ง สามารถใช้สิทธิได้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ที่เป็นผู้ประกันตนของสำนักงานประกันสังคมตามกฎหมาย
1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) หนึ่งในนโยบายขับเคลื่อนซอฟพาวเวอร์แห่งชาติ ผ่านการอบรมหลักสูตร 225 หลักสูตรของ 11 อุตสาหกรรมซอฟพาวเวอร์ รัฐบาลหวังยกระดับแรงงานไทยให้มีทักษะสูง หนุนเศรษฐกิจประเทศเติบโต และพาคนไทยหลุดกับดักรายได้ปานกลาง
รัฐบาลเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเรียนหลักสูตร “1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์” หรือ “OFOS” เพิ่มทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ 11 ด้าน เริ่มสมัคร 28 มิ.ย.นี้ สามารถดู 225 หลักสูตร และวิธีการลงทะเบียนได้ผ่านออนไลน์
ทีดีอาร์ไอ เปิดผลวิเคราะห์การสมัครงานออนไลน์ในไทยผ่านบิ๊กดาต้า ไตรมาส 1 ปี 67 พบทักษะภาษาอังกฤษเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานมากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีความเชื่อมโยงกับภายนอกแนบแน่นขึ้นและต้องพึ่งพาตลาดภายนอกมากยิ่งขึ้น
ครม.ไฟเขียวผลความคืบหน้าปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท/วัน ของกระทรวงแรงงานและบอร์ดค่าจ้าง คาดประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้บังคับใช้ ก.ย. - ต.ค. 2567
นโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ช่วยเพิ่มรายได้ลูกจ้างและลดความเหลื่อมล้ำ แม้ฟังดูดี แต่นักเศรษฐศาสตร์มองจากบทเรียนที่ผ่านมา ไม่ได้เพิ่มรายได้อย่างยั่งยืน แต่เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แนะในระยะยาวต้องพัฒนาทักษะแรงงาน เพื่อดึงดูดงานที่มีมูลค่าสูงและเงินเดือนที่สูง
นักวิจัยทีดีอาร์ไอมองค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท ควรปรับมานานแล้วตามค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น แนะรัฐบาลเข้มงวดบังคับใช้อย่างจริงจัง หวั่นผู้ประกอบการหลบเลี่ยง ขณะที่ตลาดแรงงานหลังโควิด-19 เริ่มเปลี่ยนไป แรงงานต้องพัฒนาทักษะ รองรับการใช้เทคโนโลยี
ไทยกำลังจะมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายที่รัฐบาลได้หาเสียงไว้ ในหลักเศรษฐศาสตร์สามารถจำลองได้ว่าจะเกิดผลกระทบอะไรขึ้นต่อตลาดแรงงาน และการปรับตัวของผู้ประกอบการ หลังจากที่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำแล้ว
ครม.รับทราบผลมติคณะกรรมการค่าจ้าง และเตรียมประกาศในราชกิจจาฯ ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท นำร่องพื้นที่ท่องเที่ยว 10 จังหวัด เริ่ม 13 เม.ย. 2567 เป็นต้นไป ซึ่งนับเป็นก้าวแรกในนโยบายขึ้นค่าแรงทั่วประเทศของรัฐบาล
ครม.อนุมัติ 2 หลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงมหาดไทย อนุญาตให้แรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ ยื่นขอใบอนุญาตทำงานบนเรือประมงไทยได้ตลอดทั้งปี จากเดิมที่ยื่นขอได้ 2 ช่วงเวลาต่อปี
เกษตรกรไทยกำลังติดหล่มการพัฒนา ทำให้มีรายได้และกำไรไม่เพียงพอเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยภาคเกษตรต่ำกว่านอกภาคการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังมีสิ่งชักจูงให้คนรุ่นใหม่ต่างละทิ้งงานภาคเกษตร ท่ามกลางแรงงานเกษตรในปัจจุบันที่มีอายุเฉลี่ยสูงและใกล้ออกจากตลาดแรงงานมากขึ้น
นักเรียนอาชีวะเป็นภาพลักษณ์ของความรุนแรงในสังคมไทยมานานหลายปี ซึ่งมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจของเด็กในยุคปัจจุบันที่เลือกไปเรียนสายสามัญแทนสายอาชีวศึกษา ทำให้ไทยขาดแคลนแรงงงานทักษะมีฝีมือในอุตสาหกรรมสำคัญ และในขณะเดียวกันแรงงานดังกล่าวก็เป็นที่ต้องการสูงในต่างประเทศ
เงินบำเหน็จบำนาญในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่บรรดาคนที่รับราชการเท่านั้น แต่แรงงาน ทั้ง "ในระบบ-นอกระบบ" ต่างก็มีโอกาสได้รับผ่านกองทุนประกันสังคม ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจนั้นไม่ต้องห่วง เพราะมีระบบสวัสดิการของตัวเองอยู่แล้ว แต่จากเงื่อนไขที่ต่างกันทำให้บำเหน็จบำนาญที่ได้รับหลังเกษียณอายุต่างกันมาก