บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร) รายงานภาระหนี้สินภาคครัวเรือนจากสถาบันการเงิน 157 แห่ง ที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ครอบคลุมประชาชนคนไทยและผู้มีถิ่นฐานในประเทศไทยที่มีหนี้สินกับสถาบันการเงินสมาชิก ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมประมาณกว่า 30 ล้านคนจากฐานข้อมูลสถิติที่ไม่มีตัวตนในไตรมาส 3 ปี 2567
หนี้ครัวเรือนในระบบเครดิตบูโร อยู่ที่ 13.6 ล้านล้านบาท จากหนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมด 16.3 ล้านล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโต 0.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และหากเทียบกับไตรมาส 2 จะติดลบ 0.2%
สรุปได้ว่าสินเชื่อในไตรมาส 3 ไม่ขยายตัว แม้ว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 3 จะเติบโต 3%
ระดับของหนี้เสีย หรือ NPL (Non-Performing Loan) ก็เป็นไปตามคาดมาอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8.8% ของหนี้รวม 13.6 ล้านlล้านบาท คือ เส้นสีแดงที่พุ่งขึ้นมาชัดเจนตั้งแต่ไตรมาส 1 ปี 2566 พักฐานไตรมาส 4 ปี 2566 แล้วไปต่อตั้งแต่ปี 2567 พร้อม ๆ กับมาตรการกลับไปสู่ความเป็นปกติ (normalize) เศรษฐกิจค่อย ๆ โตกลับมาอย่างเชื่องช้า มีเรื่องการให้กู้อย่างรับผิดชอบ การแก้หนี้เรื้อรัง และแก้หนี้ครบวงจร โดยกราฟของเส้นหนี้เสียวิ่งจาก 7.7% สู่ 8.8%
หนี้ NPL ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาทโดยประมาณ เติบโต 14.1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเติบโต 3.4% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สอง ซึ่ง NPL สินเชื่อบ้านรถยนต์ บัตรเดรดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลนิ่ง ๆ หรือโตไม่มากจากไตรมาสก่อน แต่ที่กังวลมากคือสินเชื่อธุรกิจคนตัวเล็กหรือ SMEs เติบโต 20% เมื่อเทียบกับปีก่อนและเพิ่มขึ้น 5.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สอง
หนี้กำลังจะเสียหรือหนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ หรือ SM (Special Mention) ยอดคงค้างในไตรมาส 3 ปี 2567 ไม่ขยับมากนัก อยู่ที่ 4.8 แสนล้านบาทโดยประมาณ ลดลงมาทั้งเทียบกับปีก่อนและเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
ที่มาข้อมูล: เครดิตบูโร
อ่านเพิ่มเติม:
พักดอกเบี้ยรายย่อย ช่วยลูกหนี้ “บ้าน-รถ-เอสเอ็มอี”