นโยบายทั้งหมด
นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)
นโยบายการคลัง เป็นการดำเนินนโยบายของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นหรือชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยใช้เครื่องมือที่สำคัญของรัฐบาล คือ การใช้จ่ายของรัฐบาล (รายจ่าย) และการเก็บภาษี (รายได้) รวมถึงการก่อหนี้สาธารณะของรัฐบาล
ยกเลิกเกณฑ์ทหาร
รัฐบาลมีความพยายามในการเปลี่ยนระบบการบังคับเกณฑ์ทหาร โดยการรณรงค์และกระตุ้นให้คนมาสมัครผ่าน "ระบบสมัครใจ" มากขึ้น แต่หากมีผู้สมัครใจไม่เพียงพอ ก็จะมีการเกณฑ์ทหารดังเดิม โดยคาดว่าจะไม่มีการเกณฑ์ทหารภายใน 2-3 ปี
การคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์
ร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ฯ มีเจตนารมณ์ให้เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญ 2560 มุ่งให้ความคุ้มครองสิทธิของชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีอยู่กว่า 60 กลุ่ม ประมาณ 6.1 ล้านคน ทั่วประเทศ
การเรียนรู้ตลอดชีวิต
‘การเรียนรู้ตลอดชีวิต’ เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าการเรียนรู้ไม่ได้ตีกรอบอยู่ในห้องเรียน แต่คนทุกช่วงวัยสามารถพัฒนาทักษะให้ตอบโจทย์โลกสมัยใหม่ได้ตลอดชีวิต รัฐบาลจึงประกาศให้เป็นนโยบายสำคัญ ควบคู่กับ พ.ร.บ. ส่งเสริมการเรียนรู้ ปี 2566 ที่ยกฐานะสำนักงาน กศน. สู่กรมส่งเสริมการเรียนรู้ หวังยกระดับการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย
ระบบประกันสังคม
ประกันสังคม เป็นเครื่องมือทางสังคมที่ใช้สร้างหลักประกันและความมั่นคงในการดำเนินชีวิต จัดการความเสี่ยงจากสถานการณ์ไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ เสียชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ใช้เพื่อให้หลักประกันชีวิตแก่ประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย
นโยบายป่าไม้แห่งชาติ
นโยบายป่าไม้แห่งชาติ กำหนดให้มีการบริหารจัดการป่าไม้ของประเทศอย่างสมดุล และนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยกำหนดให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศอย่างน้อยใน 40% ของพื้นที่ประเทศ และให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
รัฐบาลดิจิทัล
นโยบายผลักดัน "รัฐบาลดิจิทัล" เริ่มขึ้นหลังจากคณะรัฐมนตรีผ่านความเห็นชอบต่อแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559 – 2561) เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2559 เพื่อใช้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
โครงการแลนด์บริดจ์ (Land Bridge)
โครงการแลนด์บริดจ์ (หรือชื่อเต็มคือ โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน) เป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม เชื่อมโยง 2 ท่าเรือ เพื่อส่งเสริมการขนส่งทางน้ำ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
สันติภาพชายแดนใต้
ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา (11 ก.ย. 2566) ไม่ได้มีการพูดแนวทางการแก้ปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ แต่บทบาทในการแก้ปัญหามาจากคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้