ธนาคารโลกออกรายงาย SHAPING A COOLER BANGKOK: Tackling Urban Heat for a More Livable City เตือนว่ากรุงเทพมหานคร เติบโตและขยายตัวไม่หยุด เต็มไปด้วยสิ่งก่อสร้าง คอนกรีต และวัสดุต่าง ๆ ที่สามารถซึมซับคลื่นความร้อนได้ดี จาก “เมืองหลวง”ขนาดเล็ก กลายเป็น “มหานคร” ที่มีประชากรอาศัยอยู่เกือบ 10 ล้านคน ทำให้มหานครแห่งนี้เผชิกับ “คลื่นความร้อน” จากความเป็นเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในรางานดังกล่าวทีมนักวิจัยใช้ตัวชี้วัด Wet Bulb Globe Temperature (WBGT) เพื่อวัดความเข้มข้นของความร้อน ตัวชี้วัดนี้มีความครอบคลุม และรวบรวมทั้งข้อมูลด้านอุณหภูมิอากาศ ความชื้น และรังสีจากแสงอาทิตย์ โดยศึกษาว่า ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 30.5°C แต่ละเมืองจะมีจำนวนวันที่ร้อนเท่าไหร่ในแต่ละปี โดพบว่ากรุงเทพมหานครติดอันดับต้น ๆ ในเอเชีย และคาดว่าในปี 2050 จะมีอุณหภูมิเกินกว่า 30.5 องศาสเซียลเซีส ในแต่ละปีถึง 290 วันจากทั้งหมด 365 วัน
จากกราฟด้านบนนี้จะเห็นได้ว่า กรุงเทพฯจะมีจำนวนวันร้อนมากถึง 290 วัน ภายในปี ค.ศ. 2050 หรือในอีกประมาณ 25 ปีข้างหน้า ยิ่งไปกว่านี้อันดับของไทยยังสูงเป็นอันดับ 3 ถ้าเทียบกับบริเวณเพื่อนบ้าน เป็นรองแค่ กัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซีย และสิงค์โปร
ผลกระทบต่อสุขภาพ ถึงตาย…
ผลกระทบจากอถณหภูมิสูงขึ้น ทำให้เกิดโรคที่มาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้นและเป็นอันตรายถึงชีวิต ในบางครั้งอาจจะเป็นอาการฉับพลัน เช่น Stroke และในหลายๆ ครั้ง อุณหภูมิที่สูงขึ้นจะเข้าไปกระตุ้นโรคที่ผู้คนอาจจะมีอยู่แล้ว เช่น โรคหัวใจ โรคเกี่ยวกับปอด โรคไต และอวัยวะอื่น ๆ
คนจะตายเยอะขึ้น งานศึกษาสาขาโรคระบาดวิทยา หรือ Epidemiology Study ทำการทดลองโดยหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิในกรุงเทพและจำนวนคนตายทั้งหมดในเมือง และพบว่าเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นถึง 35°C จำนวนคนตายที่เกิดมีอุณหภูมิความร้อนเข้ามาเกี่ยวข้องจะเพิ่มเป็น 28% (สูงกว่าเมื่ออุณหภูมิอยู่ที่ 28°C)
หากย้อนกลับไปเมื่อปี 1960-2000 กรุงเทพฯมีจำนวนวันที่อุณหภูมิสูงกว่า 35°C ประมาณ 60-100 วันต่อปี แต่คาดว่าเมื่อสิ้นศตวรรษนี้ กรุงเทพมหานครจะมีวันที่อุณหภูมิสูงถึง 35°C ถึง 153 วันต่อปี
กลุ่มเสี่ยง คือเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ร่างกายของเด็กยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ความร้อนที่สูงขึ้นอาจทำให้ร่างกายเด็กระบายความร้อนได้ไม่ดีเท่าผู้ใหญ่ นอกจากนี้ความร้อนที่เพิ่มขึ้นอาจจะทำให้เด็กนักเรียนมีความสามารถในการตั้งใจเรียนลดลง เพราะร่างกายอาจอยู่ในภาวะที่ไม่สบายตัวจนเกินไป ในขณะที่ผู้สูงอายุมีร่างกายที่เสื่อมลงเรื่อย ๆ จึงมีความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อมรุนแรง
อีกกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงคือกลุ่มที่มีสถานะทางเศรษฐกิจที่ต่ำกว่า หรือ คนยากจน เพราะกลุ่มนี้อาจจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพมากกว่าและอาจจะขาดสิ่งที่ช่วยป้องกันตนเองจากความร้อนหรือแสงแดด
กลุ่มแรงงานจะโดนกระทบหนัก
กลุ่มแรงงานไทยที่จะได้รับผลกระทบหนักคือ คนขายอาหารข้างทาง คนขับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับแท็กซี่ คนส่งของ คนทำงานบริการภาคสังคม และพนักงานก่อสร้าง เป็นต้น หนึ่งในเหตุผลหลักที่ส่งผลให้แรงงานเหล่านี้ได้รับผลกระทบหนักมาจากบริบทการทำงานและสถานที่ทำงาน ที่กำหนดให้ต้องใช้เวลากลางแจ้งเป็นเวลานาน
อาชีพเหล่านี้ คือตัวอย่างที่จะต้องพบเจอกับแสงแดดและอุณหภูมิที่สูงโดยตรง แต่ทว่าสภาพการทำงานส่วนใหญ่ไม่ได้มีมาตรการป้องกันใดๆ จากการคลื่นความร้อน
นอกจากนี้ มีกลุ่มคนงานในร่มที่น่าเป็นห่วงเช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น คนที่ทำในโรงงานอุตสาหกรรม โกดังเก็บของ และร้านซ่อมต่าง ๆ หรืออู่รถ มีคนงานเป็นจำนวนมากที่อยู่ทำงานในร่มแต่สถานที่ทำงานนั้นไม่ได้มีการระบายอากาศที่ดีหรือถ่ายเทความร้อนเท่าที่ควร สภาพแวดล้อมการทำงานแบบนี้ ถึงแม้จะอยู่ในร่มก็เป็นภัยอันตรายเช่นเดียวกัน
เศรษฐกิจโดยรวมจะได้รับผลกระทบไปด้วย ความร้อนที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อำนาจในการผลิต (Productivity) ลดลงและประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency) ก็อาจจะลดลงตามไปด้วย มีความเป็นไปได้สูงที่โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุในที่ทำงานจะเกิดขึ้นได้ ตัวอย่างอุตสาหกรรมที่จะโดนผลกระทบหนักคือ ภาคการเกษตร ภาคก่อสร้าง ภาคขนส่งและเดินทาง และภาคการค้าขาย เป็นต้น
คาดการณ์อุณหภูมิในกทม.จำแนกรายเขต ที่มีความเสี่ยงจะเพิ่มสูงสุดจากค่าเฉลี่ย 28-30 °C ในช่วงปี 1960-2000
กทม. เตรียมรับมืออย่างไรบ้าง?
หนึ่งในการเตรียมตัวของหน่วยบริหาร กทม. คือการจัดตั้งระยะเฝ้าระวังต่างๆ เป็น 4 ระดับ แบ่งตามระดับของอุณหภูมิความร้อน ในแต่ละระดับ กรอบการทำงานจะให้ความสำคัญของการติดตาม ข้อมูลเชิง Data ต่างๆ ที่เกี่ยวกับความร้อน และยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถของระบบสาธารณะสุข
- ระดับแรกคือ Monitoring Phase (27°C – 32.9°C) หรือช่วงคอยสังเกต จะให้ความสำคัญไปที่การติดตามอุณหภูมิอย่างสม่ำเสมอและกระจายข่าวสารที่เกี่ยวกับความร้อน
- ระดับสองคือ Warning Phase (33°C – 41.9°C) หรือช่วงการเตือนภัย ซึ่งจะเน้นไปที่การรณรงค์เสริมความรู้ให้กับประชาชน และให้ข้อแนะนำต่างๆ จากความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากความร้อนที่เพิ่มขึ้น
- ระดับสามคือ Critical Phase (42°C – 51.9°C) หรือระดับอันตราย จะมีการติดตั้งการมาตราการภาวะฉุกเฉิน รวมถึงการมีความพร้อมด้านระบบสาธารณะสุขเพื่อรับมือกับโรคต่างๆ ที่เกี่ยวของกับอุณหภูมิที่สูงมาก
- ระดับสี่คือ Extreme Critical Phase (อุณหภูมิเกินกว่า 52°C) หรือระดับอันตรายขั้นรุนแรง จะมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันระบบโครงสร้างสาธารณสุขและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่างๆ
นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร กทม. มีความตั้งใจที่จะมีการฝึกฝนให้แก่กับบุคลากรทางสาธารณะสุขที่เกี่ยวกับความเสี่ยงที่มากับอุณหภูมิสูงและนำมารวมในมาตรการการป้องกัน
ในระยะยาว กทม. มีความประสงค์ที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวในกรุงเทพฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อน และคาดหวังว่าจะมีการทำการวางแผนผังเมืองที่มีปัจจัยสภาพภูมิอากาศเป็นตัวตั้ง เช่น เพิ่มพื้นที่สีฟ้า เช่น มีบ่อน้ำหรือแหล่งน้ำมากขึ้นเพื่อช่วยบรรเทาอุณหภูมิที่สูง การชักจูงให้หันมาใช้วัสดุที่มีการสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดีสำหรับการสร้างตึกใหม่ๆ เป็นต้น
รัฐต้องบริหารร่วม แต่ทำไมขาดความร่วมมือ?
ข้อจำกัดในเรื่องของการใช้ข้อมูลร่วมกัน มาตรการหรือนโยบายที่ขัดกัน การบริหารภาครัฐโดยรวมยังมีปัญหาเพราะขาดความร่วมมือและทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐต่างๆ
ถึงแม้ กทม. จะมีอำนาจในการจัดการบริหาร แต่การจัดการการใช้พื้นที่และออกมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมนั้นถูกบริหารโดยหลายหน่วยงานเช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งผลโดยตรงต่อความรวดเร็วในการดำเนินงานต่างๆ
เนื่องจากแต่ละกระทรวงและหน่วยงานมีกฎระเบียบข้องตนเอง ส่งผลให้มีความรับผิดชอบที่ต่างกัน และแต่หน่วยงานให้ความสำคัญในแต่ละเรื่องที่ต่างกัน ฉะนั้นแล้วการแก้ปัญหาเร่งด่วนของแต่ละกระทรวงไม่เหมือนกัน ซึ่งเหตุการณ์ลักษณะนี้เกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง
ที่มา: SHAPING A COOLER BANGKOK: Tackling Urban Heat for a More Livable City
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:
นักวิจัยเร่งสำรวจพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก “เสี่ยง” ต้องย้ายถิ่นจากโลกร้อน