พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม มีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ม.ค. 68 ซึ่งในกม.ระบุให้แต่ละหน่วยงานของรัฐต้องพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องว่ามีปัญหาหรือไม่ แล้วทำรายงานแจ้งต่อคณะรัฐมนตรี ภายใน 180 วัน เพื่อแก้ไขกฏหมายให้สอดคล้องกัน ซึ่งเท่ากับว่าจะสิ้นสุดกรอบระยะเวลาวันที่ 21 ก.ค. 68 แต่บางหน่วยงานยังไม่ได้ดำเนินการ
ภาวะโลกร้อนกำลังส่งผลกระทบต่อเมืองอย่างชัดเจน ทั้งในรูปแบบ “การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป” (slow onset events) เช่น อุณหภูมิเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และความแห้งแล้งยาวนาน และ “เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว” (extreme events) เช่น พายุฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน หรือคลื่นความร้อน
"ที่ดินแพง-กู้ยาก-กฎหมายล้าสมัย" ปัญหาสุดซับซ้อนของคนจนเมือง ที่สะท้อนถึงความล้มเหลวเชิงระบบ และการแก้ไขที่ไม่ทันต่อการเปลี่ยนของสังคม ถึงเวลาที่ต้องร่วมสร้าง “นวัตกรรม”และเพิ่มบทบาทท้องถิ่น เพื่อผลักดันให้ภาพฝันของคนรายได้น้อยได้มีบ้านที่มั่นคง
นับเป็นเวลาเกือบ 1 ปีแล้วที่คณะมนตรีแห่งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD Council) ได้มีมติเห็นชอบการเข้าเป็นสมาชิก OECD ของไทย ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่ 2 ในอาเซียนต่อจากอินโดนีเซียที่เข้าสู่กระบวนการดังกล่าว
หากประเทศไทยมีการลุงทุนในการดูแลเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยได้ดี จะสามารถลดต้นทุนทางสังคมได้มากขึ้น แต่ระบบการศึกษาไทยกลับละเลยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เพราะกฎหมายมีช่องโหว่ นำไปสู่ความเหลื่อมล้ำของเด็กไม่อาจเข้าถึงการศึกษาในชั้นระดับปฐมวัย
เริ่มแล้วโครงการ "ทุนการศึกษาเพื่อขยายโอกาสและพัฒนาประเทศ" หรือ ODOS สำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย เฉลี่ยไม่เกินเดือนละ 12,000 บาท หลังครม.อนุมัติงบกว่า 4 พันล้าน ให้ทุนการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาถึงปริญญาตรี ทั้งใน-ต่างประเทศ รวม 4,800 คน
สถานภาพผู้สูงวัยในสังคมยุคใหม่กำลังกลายเป็นปรากฏการณ์ที่คล้าย ๆ กันทั่วโลก ขณะสังคมไทยก้าวสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ จากจำนวนผู้สูงอายุไทย 13 ล้านคน หรือกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ เผชิญปัญหา”โดดเดี่ยว” ต้องการที่พึ่งพิง มีเงินออมต่ำและหนี้สิน อีกทั้งเข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐ
ผลการสำรวจครัวเรือนภาคเกษตร ย้ำให้เห็นถึงปัญหาเดิม ๆ ของเกษตรกร กว่าครึ่งไร้ที่ทำกิน สัดส่วนเช่าสูงถึง 28.91% ขณะที่พื้นที่เกษตร ใช้ปลูกข้าวมากที่สุด และพบว่ามีการใช้พื้นที่ทำการเกษตรเพิ่มขึ้น
จากรายงานภาวะสังคมไตรมาสที่ 4/2567 ของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ไทยสามารถลดสัดส่วนคนจนหลายมิติ จากร้อยละ 20.08 ในปี พ.ศ. 2558 เหลือร้อยละ 8.76 ในปี พ.ศ. 2566 แต่ความท้าทายสำคัญคือมีจำนวนคนไทยอีกกว่า 24 ล้านคน ที่เสี่ยงต่อการเป็นคนจนหลายมิติ
วิพากษ์มาตรการ “บัตรคนจน“ หลังกระทรวงการคลัง เตรียมลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ภายใน มี.ค. 2568 แต่ที่ผ่านมา พบมีคนจนตกหล่น 1.4 ล้านคน และคนไม่จนได้สิทธิ 10.1 ล้านคน สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วยฯ ชี้สาเหตุจากตั้งเกณฑ์ไม่เข้มข้น ไม่รู้รายได้ที่แท้จริง และให้สิทธินานหลายปีโดนไม่ได้กรองซ้ำใหม่
แนวคิดการปฏิรูปภาษีของนายพิชัย ชุณหวชิร ที่กล่าวในเวที Sustainability Forum 2025 เมื่อ 3 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา นำไปสู่การถกเถียงในวงกว้างถึงผลกระทบของการปฏิรูปภาษี นอกเหนือจากเรื่องการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐแล้ว “ความเหลื่อมล้ำ” เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับการพูดถึง
หลังจาก ทักษิณ ชินวัตร ขายไอเดียแก้ปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำ โดยใช้ภาษีเงินได้แบบติดลบ หรือ Negative Income Tax ก็ได้รับความสนใจจากคนในรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐบาล แต่ยังไม่มีความคืบหน้าและยังเป็นประเด็นคำถามว่าหากจะใช้จริงสามารถทำได้แค่ไหน
ในยุคที่เสียงของกลุ่มคนไร้อำนาจ (powerless) ถูกละเลยในกระบวนการทำนโยบาย คำถามสำคัญคือ "เมื่อใดจึงจะทำให้เสียงของกลุ่มคนไร้อำนาจสามารถมีผลต่อนโยบาย?"
ทำไมแก้ปัญหาแบบไม่ใช้ความรุนแรง และ ปัญหาความเหลื่อมล้ำแก้ยากในสังคมไทย "มารค ตามไท" สรุปบทเรียนหลังจากทำงานด้านสันติวิธีมายาวนาน เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลังตระหนักถึงความยากลำบากที่ต้องพูดคุยกับ "อำนาจ"
งานวิจัยพบว่า 462 บริษัททรงอิทธิพลทั่วโลก มีประสิทธิภาพลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 24% จากคะแนนวัดผลของ WBA (World Benchmarking Alliance) และการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมของบริษัทเหล่านี้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเป็นปัญหาทั่วโลก
พัฒนา “ทุนมนุษย์” ไม่ใช่ภาระ แต่เป็นความจำเป็นเร่งด่วน ! ข้อเสนอเชิงนโยบายถึงรัฐบาล แก้กับดักความเหลื่อมล้ำ ปูทางสู่การสร้างสวัสดิการที่ทำให้ทุกคนในสังคมเท่ากัน
ผู้สูงอายุจำเป็นต้องมีรายได้เลี้ยงชีพในวัยเกษียณ แต่ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” จ่ายสูงสุด 1,000 บาท/เดือน กลับไม่ได้ปรับขึ้นมากว่า 10 ปี ขณะที่ข้าวของแพงขึ้นทุกปี ทำให้ไม่เพียงพอกับ“ค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ” และยังต่ำกว่าเส้นความยากจนมากขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดมีข้อเสนอจ่ายถ้วนหน้า 3,000 บาท จะเป็นไปได้แค่ไหน?
หลัง ศธ. แถลงผลประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) 2565 ซึ่งเป็นการวัดผลเกี่ยวกับเรื่องความคิดความอ่าน วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทุก ๆ 3 ปี พบว่าอันดับของเด็กไทยต่ำสุดในรอบ 20 ปี Policy Watch รวบรวมความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อหวังนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบาย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้รัฐบาลเพิ่มศักยภาพทางด้านการคลัง โดยเฉพาะการหารายได้ของรัฐบาล เพื่อรองรับสวัสดิการทางสังคม รับสังคมสูงวัย โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น 38%
ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาหลายพรรคการเมืองชูนโยบายเกี่ยวกับ “รัฐสวัสดิการ” แม้ว่าแต่ละพรรคมุ่งเน้นนโยบายต่างกัน แต่ก็ชี้ให้เห็นว่า “สวัสดิการจากภาครัฐ” ได้ปักหลักอย่างมั่นคงในนโยบายของรัฐบาลนับจากนี้ไป