สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เผย รายงานที่ประชุมสมัชชาครั้งที่ 16 เรื่องบริหารจัดการน้ำ โดยระบุว่าทรัพยากรน้ำถือว่ามีความสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนต่อประชาชนทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มคนเปราะบาง ส่งผลต่อการอุปโภค บริโภค หรือการประกอบการอื่น ๆ รวมถึงชุมชนที่อยู่นอกเขตชลประทานที่ขาดการเข้าถึงทรัพยากรน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบนผิวดิน น้ำใต้ดิน และน้ำทะเล อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่สร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมชุมชนหลากหลายมิติ เช่น สังคม เศรษฐกิจสุขภาพ และความขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น ที่สำคัญความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีความไม่แน่นอน มีความผันผวนของฤดูกาล เจอวิกฤตน้ำท่วม น้ำแล้ง ซ้ำซากที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง
ดังนั้นการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีส่วนร่วมทั้งระบบไม่ว่าจะทรัพยากรน้ำาสาธารณะ แหล่งต้นน้ำลำธาร แหล่งกักเก็บน้ำ คลองส่งน้ำ พื้นที่ทางน้ำหลากหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น และสิ่งที่ใช้เพื่อบริหารจัดการน้ำจึงมีความสำคัญ ซึ่งองค์ประกอบสำคัญในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ได้แก่
- ระบบการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ
- การวางแผนลุ่มน้ำ หรือ ผังน้ำชุมชน
- การจัดสรรน้ำ
- การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
- การอำนวยการสนับสนุน
- การควบคุมมลพิษ
- การตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพ
- การจัดการทางเศรษฐกิจและสังคม
- ความมั่นคงด้านน้ำ
“ทรัพยากรน้ำ” ตัวชี้วัด “ความมั่นคง”
ทรัพยากรน้ำถูกกําหนดให้เป็นปัจจัยบ่งชี้ถึงความต้องของประชากร ความมั่นคง ความ ยั่งยืน และเพียงพอต่อความต้องการในการดำรงชีวิตในการเข้าถึงทรัพยากรแหล่งน้ำอย่างทั่วถึง
ทำให้บางพื้นที่หรือบางลุ่มน้ำมีความจำเป็นต้องพัฒนาแนวทางการบูรณาความร่วมมือการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างประเทศ เช่น ลุ่มน้ำโขง ลุ่มน้ำสาละวิน ที่ต้องศึกษาข้อมูลแลกเปลี่ยนองค์ความรู้การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ การอนุรักษ์ระบบน้ำ และการจัดตั้งกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างประเทศที่มีความสัมพันธ์กับระบบนิเวศลุ่มน้ำของไทย เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำร่วมกันและเสริมสร้างกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนพื้นที่ที่สามารถแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างประเทศ ได้ต่อเนื่องและอย่างยั่งยืน
แผนบริหารจัดการน้ำของไทยในปัจจุบัน
ที่ผ่านมาเครือข่ายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้มีมติและร่วมขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพ ที่ทำให้สามารถนํามาเป็นข้อมูลและการพัฒนาสู่นโยบายสาธารณะของประชาชน ได้แก่
- มติ 4.4 การบริหารจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำขนาดเล็กอย่างยั่งยืนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายและภาคีทุกภาคส่วน
- มติ 1.7 บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการจัดการสุขภาพและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การขับเคลื่อนของคณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด องค์กรผู้ใช้น้ำที่กระจายในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและ องค์กรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน เช่น มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มูลนิธินโยบายสาธารณะไทย บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และมูลนิธิรักษ์ไทย ที่ผลักดันการทำงานการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำทั้งในภาวะวิกฤต การบํารุงรักษา การฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้มีเสถียรภาพ มั่นคงและยั่งยืน
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ในด้านที่ 5 การบริหารจัดการเป็นหนึ่งในแผนงานยุทธศาสตร์หลักในการจัดตั้งองค์กรด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัย พัฒนาระบบฐานข้อมูลประกอบการตัดสินใจ สนับสนุนองค์กรลุ่มน้ำ สนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภาครัฐและเอกชน การบริหารจัดการ ชลประทาน การศึกษาวิจัย การเตรียมความพร้อม ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชนและ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ พัฒนางานวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีสนับสนุน การสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการบริการเพื่อสามารถบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วประเทศ
เห็นว่าการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยเฉพาะการส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิง พื้นที่เป็นหัวใจสำคัญของการสร้างพื้นที่กลางในการแลกเปลี่ยน พูดคุยของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลากหลายกลุ่ม ในการแสดงออกและสามารถเรียกร้องความต้องการของตนเองและพื้นที่ และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ต่อทรัพยากรน้ำ การมีองค์ความรู้และเครือข่ายกระบวนการวิจัยเพื่อท้องถิ่นจะเป็นกลไกการสร้างขบวนการ ขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ร่วมของหน่วยงานองค์กรปกครองท้องถิ่นและชุมชนที่ถือเป็นหน่วยย่อยระดับตำบลที่สามารถดำเนินงานร่วมกับหน่วยระดับครอบครัวเป็นหน่วยเล็กที่สุดของการบริหารจัดการน้ำที่ต้องมีความรู้ความเข้าใจต่อ การบริหารจัดการน้ำที่สามารถเข้าถึงและเป็นธรรมในการใช้ประโยชน์ร่วมกันของคนในชุมชน
ข้อเสนอทิศทางนโยบายต่อภาครัฐ โดยสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
ควรมีการส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่อย่างมีส่วนร่วมในลักษณะ “หุ้นส่วนของภาครัฐ” ที่มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และกลุ่มเครือข่ายโดยมีแผนบูรณาการกับคณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด องค์กรผู้ใช้น้ำ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำอย่างเข้มแข็ง มั่นคง และยั่งยืนในระดับพื้นที่ ทำให้เกิดการบริหารจัดการที่ดีและสร้างหลักประกันพื้นฐานในสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรน้ำอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมที่สามารถส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิต รวมถึงอนุรักษ์ ฟื้นฟู ระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่
สาระสำคัญในกรอบทิศทางนโยบาย ที่สมัชชาสุขภาพฯ เสนอ
- การหนุนเสริมกระบวนการสร้างความเข้มแข็งต่อกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ โดยสร้างการมีส่วนร่วมความเป็นหุ้นส่วนต่อการจัดการสมดุลน้ำและผังน้ำระดับชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเชิงพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งชุมชนท้องถิ่นต้องมีข้อมูลระบบสารสนเทศประกอบการตัดสินใจและจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำหลักของระดับจังหวัด รวมถึงการพัฒนาศักยภาพและบทบาทขององค์กรผู้ใช้น้ำ และเครือข่ายกลุ่มผู้ใช้น้ำเป็นกลไกการขับเคลื่อนหลักที่สามารถขับเคลื่อนโครงการที่เกิดประโยชน์และสามารถแก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จในระดับลุ่มน้ำผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างท้องถิ่น ท้องที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- ผลักดันให้เกิดการบูรณาการและสนับสนุนพื้นที่กลางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำตามความต้องการอย่างเหมาะสมของพื้นที่ โดยผ่านกลไกการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ด้วยกระบวนการจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่าย มีพื้นที่กลางแลกเปลี่ยนและบูรณาการเข้ากับแผนการพัฒนาในระดับพื้นที่ เพื่อนําไปสู่การกําหนดนโยบายของจังหวัดและท้องถิ่นตามหลักการของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ.2565 เพื่อนําไปสู่การผลักดันการปฏิบัติการและกระบวนการจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานเชิงพื้นที่อย่างเหมาะสม รวมถึงสนับสนุนโครงการและกิจกรรมอันก่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำระดับลุ่มน้ำจนถึงระดับพื้นที่ผ่านการทำงานร่วมระหว่างท้องถิ่น องค์กรผู้ใช้น้ำและกลุ่มเครือข่ายผู้ใช้น้ำในพื้นที่ เพื่อกระจายทรัพยากรอย่างทั่วถึงเป็นธรรมและต่อเนื่อง
- การส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบองค์รวมเพื่อสร้างโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจ คุณภาพ ชีวิตและคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อระบบน้ำของพื้นที่ และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า ทั้งน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการประกอบอาชีพ เน้นระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เหมาะสมกับภูมิสังคมและภูมินิเวศของพื้นที่ เพื่อสร้างผลิตภาพน้ำให้สูงขึ้น ลดความสูญเสียจากภัยพิบัติจากน้ำ บริหารจัดการความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำเพื่อยกระดับไปสู่การส่งเสริมการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ และคุณภาพชีวิต สำหรับประชาชนในพื้นที่อย่างเป็นระบบ
- การส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความตระหนักรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำเสียและสิ่งแวดล้อมระดับพื้นที่ โดยสร้างความตระหนักรู้หน้าที่และความรับผิดชอบร่วมต่อการบริหารจัดการระบบการปล่อยทิ้งน้ำเสียและการจัดการขยะจากบ้านเรือน การประกอบการ อุตสาหกรรม การเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และระบบการจัดการน้ำ เสียชุมชนที่มีประสิทธิภาพ โดยการเพิ่มการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ป้องกัน และมาตรการ กฎ หรือระเบียบชุมชน พื้นที่ในการปล่อยน้ำเสียหรือสารเคมีและขยะสารเคมีทางการเกษตร หรือขยะอันตรายทุกชนิดที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและธรรมชาตินิเวศแวดล้อมตามแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงการสนับสนุนการตรวจสอบคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีการใช้ประโยชน์เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง
- การส่งเสริมการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบํารุงรักษา การฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ และป้องกันการบุกรุกแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยนําเทคโนโลยีสารสนเทศวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และสร้างเครือข่ายที่สามารถเพิ่มการใช้ประโยชน์ระบบเส้นทางน้ำชุมชนร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำของชุมชนโดยเฉพาะแหล่งน้ำธรรมชาติทั้งเส้นทางน้ำสาขา ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน พื้นที่ชุ่มน้ำรวมถึงโครงสร้างขนาดเล็กในพื้นที่ที่สอดคล้องกับระบบนิเวศธรรมชาติแวดล้อม ความหลากหลายทางชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยต้องไม่พัฒนาแหล่งน้ำที่ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศเดิมที่เน้นการสร้างความรู้และการตระหนักรู้ต่อการดูแล อนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรน้ำตั้งแต่เด็กเยาวชนและทุกคนทุกระดับ เพื่อให้การรักษา สมดุลน้ำในระบบนิเวศ และสมดุลตามปริมาณน้ำต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ
- การส่งเสริมวิจัยและใช้ประโยชน์งานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านการบริหารจัดการ ทรัพยากรน้ำเชิงพื้นที่ โดยการสนับสนุนการวิจัยการสร้างองค์ความรู้ การถ่ายทอด พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และใช้ประโยชน์งานวิจัยที่มีปฏิบัติการโดยประชาชนมีส่วนร่วมสำคัญ ที่สามารถมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ โดยเฉพาะการพัฒนากระบวนการติดตามและประเมินผลเพื่อผลักดันองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีไปสู่การแก้ไขและพัฒนาเชิงพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อผสมผสานองค์ความรู้ทางวิชาการและภูมิปัญญาท้องถิ่นต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สร้างความสมดุลของน้ำ พื้นที่ป่าต้นน้ำ ป่าชายเลน พื้นที่ชุ่มน้ำ และทรัพยากรน้ำอย่างทั่วถึงเป็นธรรมและยั่งยืน
แหล่งอ้างอิง https://www.nationalhealth.or.th/th/node/4779