นโยบายทั้งหมด
การเรียนรู้ตลอดชีวิต
‘การเรียนรู้ตลอดชีวิต’ เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าการเรียนรู้ไม่ได้ตีกรอบอยู่ในห้องเรียน แต่คนทุกช่วงวัยสามารถพัฒนาทักษะให้ตอบโจทย์โลกสมัยใหม่ได้ตลอดชีวิต รัฐบาลจึงประกาศให้เป็นนโยบายสำคัญ ควบคู่กับ พ.ร.บ. ส่งเสริมการเรียนรู้ ปี 2566 ที่ยกฐานะสำนักงาน กศน. สู่กรมส่งเสริมการเรียนรู้ หวังยกระดับการศึกษา พัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย
ระบบประกันสังคม
ประกันสังคม เป็นเครื่องมือทางสังคมที่ใช้สร้างหลักประกันและความมั่นคงในการดำเนินชีวิต จัดการความเสี่ยงจากสถานการณ์ไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ เสียชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ใช้เพื่อให้หลักประกันชีวิตแก่ประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย
รัฐบาลดิจิทัล
นโยบายผลักดัน "รัฐบาลดิจิทัล" เริ่มขึ้นหลังจากคณะรัฐมนตรีผ่านความเห็นชอบต่อแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2559 – 2561) เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2559 เพื่อใช้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนด้วยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
สันติภาพชายแดนใต้
ในการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา (11 ก.ย. 2566) ไม่ได้มีการพูดแนวทางการแก้ปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ แต่บทบาทในการแก้ปัญหามาจากคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาศึกษาและเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการสร้างสันติภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
แก้หนี้ครู
นโยบายแก้หนี้ครู เป็นนโยบายที่ พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ ให้ความสำคัญ เพื่อสร้างความสุขแก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา เพราะหากครูไม่ต้องกังวลกับการเป็นหนี้ ก็จะทำให้มีความสุขกับการสอนตามนโยบายเรียนดีมีความสุข และถือเป็นนโยบายเร่งด่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ต้องดำเนินการ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ คือ ปัญหาที่ไทยและทั่วโลกให้ความสำคัญและพยายามหาทางรับมือแก้ไข โดยรัฐบาลประกาศสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality (ความเป็นกลางทางคาร์บอน) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยในปี 2567 ได้เข้าร่วมประชุม COP29 เพื่อแสดงบทบาทความร่วมมือกับประชาคมโลก
บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
การบริหารจัดการน้ำตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 กำหนดให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่จัดทำนโยบายและแผนแม่บทเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำในระยะ 20 ปี
ระบบสุขภาวะทางจิต
ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยนับวันจะมีมากขึ้นในทุกช่วงอายุ นโยบายเพื่อแก้ปัญหามาจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก โดยรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้บรรจุนโยบายด้านสุขภาพจิตไว้เป็น 1 ในนโยบาย "ยกระดับ 30 บาทพลัส" แต่จะสามารถคลี่คลายปัญหาได้หรือไม่ ในเมื่อสุขภาพจิตเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคมเศรษฐกิจในวงกว้าง
สภาพแวดล้อมที่เอื้อทำธุรกิจ หรือ Business Ready (B-READY)
รัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อความสะดวกในการประกอบธุรกิจเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ที่เป็นข้อจำกัดอุปสรรค ในขณะที่ธนาคารโลกเตรียมใช้การประเมินใหม่ คือ Business Ready (B-READY) แทน Doing Business