สถานการณ์น้ำท่วม และสึนามิโคลนที่เกิดขึ้นในเชียงราย สะท้อนถึงระบบการรับมือที่ยังไม่ดีพอ และการตกอยู่ในวังวนของภัยพิบัติใหญ่มานานนับสิบปี ทำให้การพัฒนาเติบโตของ “เชียงราย” ถูกบั่นทอน “รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์” เสนอ 3 แนวทาง ทำให้เมืองปลอดภัย และเดินหน้าพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้มากขึ้น
"ข้อมูล" เป็นจุดเริ่มต้นสู่การสร้างนโยบายสาธารณะที่ตอบโจทย์ตรงจุด แต่ในทางปฏิบัติยังมีอุปสรรคและข้อจำกัดที่ต้องแก้ไข ตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลไปจนถึงระดับปฏิบัติ วงเสวนาชวนระดมความคิด ร่วมกันหากลไกให้ทุกภาคส่วนแบ่งปันข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนา พร้อมยกระดับการรักษาความปลอดภัย
จากจุดเริ่มต้นของแนวคิดให้ทุกคนเข้าถึง “สิทธิการตายดี” สามารถใช้เวลาช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตให้จากไปอย่างไม่ทุกข์ทรมาน ยกระดับมาสู่ “นโยบายสถานชีวาภิบาล” ที่ดำเนินต่อเนื่องมาถึง 2 รัฐบาล แม้จะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่ยังมีหลายปัญหาที่ยังสะดุด ต้องช่วยกันเร่งแก้เพื่อให้นโยบายเดินหน้าต่อได้
ช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล หลายนโยบายที่มีความหวังกลับ ถูกแปรรูป เปลี่ยนร่าง หรือหายไป สะท้อนถึงปัญหาบริบทสังคมไทย “การเมืองผูกกับนโยบาย” นำมาสู่ข้อเรียกร้องให้เกิด “นโยบายนำการเมือง” ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย โดยรัฐต้องมีพันธะรับผิดชอบ ร่วมมือพัฒนาระบบติดตามนโยบายให้มีประสิทธิภาพ
ใกล้ความจริงมากขึ้น เมื่อ กมธ.วิสามัญ “ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …” พิจารณากฎหมายครบทั้ง 35 มาตรา เร่งเดินหน้าหาฉันทามติ 3 ประเด็นละเอียดอ่อนให้จบภายใน ส.ค.นี้ เป็นของขวัญรับ “วันชนเผ่าพื้นเมืองโลก” ก่อนส่งสภาฯ เข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2