นักท่องเที่ยวต่างชาติ ก.พ. ต่ำสุดในรอบ 4 เดือน จากนักท่องเที่ยวจีนลดลง กังวลความปลอดภัยในไทยและเศรษฐกิจภายในซบเซา ขณะที่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ฉุดความเชื่อมั่น นักท่องเที่ยวต่างชาติกังวล แห่ยกเลิกตั๋วเครื่องบินและที่พัก
รัฐบาลกดดันแบงก์ชาติอีกครั้งหลังนายกฯรัฐมนตรีเรียกร้องให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าการประชุม กนง.นัดแรกของปี 26 ก.พ.นี้ จะคงดอกเบี้ย ให้น้ำหนักไปที่ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย และทั้งปี 2568 มีโอกาสปรับลด 1-2 ครั้ง
สถานการณ์หนี้เสียไทยไตรมาส 4 ปี 67 ปรับดีตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 1 ปี จากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธปท. แต่ยังต้องจับตาอย่างใกล้ชิดในระยะยาว เพราะเกิดจากปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้ลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงที่ต้องจับตาพิเศษกำลังพุ่งสูงขึ้นแทน
ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเหลือลูกหนี้ กระตุกพฤติกรรมมีวินัยทางการเงิน มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนให้กับสถาบันการเงินและธุรกิตสินเชื่อ ต้องรับผิดชอบต่อการปล่อยสินเชื่อ
ครม.ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.ไฟแนนซ์เชียลฮับ หวังให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน ขณะที่ผลการจัดอันดับศูนย์กลางทางการเงินทั่วโลกล่าสุด กรุงเทพฯแย่ลง ร่วงไปอยู่ที่ 95 ยังห่างชั้นจากฮ่องกงอันดับ 3 และสิงคโปร์ อันดับ 4
ธปท.ผลักดันแนวทาง "ร่วมรับผิดชอบ" แก้ปัญหาบัญชีม้า เตรียมกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของธนาคารพาณิชย์ ให้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบ หากเกิดความเสียหาย เผยแก๊งคอลเซ็นเตอร์พัฒนาไปอีกขั้น ฟอกเงินผ่านคริปโทฯ เตรียมขยายคุมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล
คนไทยถูกมิจฉาชีพหลอกโอนเงินปี 67 สูญ 37,582 ล้านบาท ธปท.กวาดล้างบัญชีม้าแล้ว 1 ล้านบัญชี ขีดเส้นทุกธนาคารปิดเส้นทางโอนเงินเข้าภายใน ม.ค. 68 รับบางแห่งไม่กล้าระงับธุรกรรมเพราะกลัวถูกฟ้อง เผยกำลังศึกษาเอไอรับมือภัยรูปแบบใหม่
นโยบายขึ้นภาษีสินค้าของทรัมป์ กำลังจะสร้างสงครามการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯกับจีน และทั่วโลก แบงก์ชาติมองจะส่งผลกระทบเครื่องยนต์เศรษฐกิจไทยในหลายด้าน เนื่องจากไทยมีความเชื่อมโยงกับจีนอยู่มาก
อุตสาหกรรมรถยนต์ไทยย่ำแย่ในช่วงปีที่ผ่านมา จากปัญหาเศรษฐกิจ การมาของรถยนต์ EV และสงครามราคา แบงก์ชาติประเมินปี 68 สถานการณ์จะยังคงไม่ฟื้นตัว ตัวชี้ขาดสำคัญขึ้นกับการปรับตัวให้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ EV ของเอเชีย
มาตรการแจกเงิน 10,000 บาทเฟสแรกให้กลุ่มเปราะบางและคนพิการ ที่รัฐบาลตั้งความหวังจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี 67 เริ่มหมดแรงหลังผ่านไปแค่เดือนเดียว ล่าสุด ธปท.เผยเศรษฐกิจไทยเดือน พ.ย.ไม่กระเตื้องขึ้น โดยการบริโภค-การลงทุนเอกชน และการผลิตอุตสาหกรรม ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ส่วนตลาดแรงงานก็ยังไม่ดีขึ้น
การเมืองเรื่องทุนสำรองระหว่างประเทศยังเกิดขึ้นเป็นระยะ นับตั้งแต่อดีตพรรคไทยรักไทย จนถึงพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน หลังจากเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลมักจะมีความเห็นกดดันธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เรื่องการนำมาใช้อยู่เสมอ แต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ
กนง.มีมติเอกฉันท์ คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25% ต่อปี มองเศรษฐกิจไทยโตใกล้เคียงกับระดับศักยภาพ แต่กังวลความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในระยะข้างหน้าจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะทิศทางนโยบายการค้าโลก พร้อมปรับนโยบายการเงินหากเศรษฐกิจมีปัญหา
โครงการ "คุณสู้ เราช่วย" เป็นมหกรรมแก้หนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ SMEs ด้วยการตัดเงินต้น พักดอกเบี้ย 3 ปี และปิดจบหนี้ แต่โครงการนี้มีรายละเอียดค่อนข้างมาก ขึ้นกับประเภทของลูกหนี้ ดังนั้นยังมีข้อสงสัยอีกมากเกี่ยวกับเงื่อนไขและลูกหนี้จะได้อะไร และได้ประโยชน์จริงหรือ?
“คุณสู้ เราช่วย” โครงการแก้หนี้รายย่อย 2.1 ล้านบัญชี ยอดหนี้รวม 8.9 แสนล้านบาท ทั้งหนี้บ้าน หนี้รถ หนี้ธุรกิจขนาดเล็ก SMEs โดยจะลดต้นและพักดอกเบี้ยนาน 3 ปี เปิดลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค. 67
รัฐบาลเล็งลดนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟู FIDF ของธนาคารพาณิชย์ เพื่อชดเชยการพักดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้บ้าน รถยนต์ และธุรกิจ ที่เป็นหนี้เสียไม่เกิน 1 ปี ล่าสุด ธปท.เผยกำลังหาข้อสรุปที่ชัดเจนกับกระทรวงการคลัง ยอมรับลดส่งเงินเข้ากองทุนฯกระทบยืดจ่ายหนี้จากวิกฤตต้มยำกุ้งตั้งแต่ปี 40
'สักกะภพ' ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. ออกมาชี้แจงเรื่องสภาพคล่องและการปล่อยสินเชื่อ โดยระบุว่าเป็น "ความเห็นส่วนตัว" ไม่เกี่ยวกับแบงก์ชาติ แม้ไม่ได้ระบุว่าเป็นการตอบโต้ใคร แต่หากใครที่ติดตามจะรู้ว่าเป็นตอบโต้คำวิจารณ์ของ "ทักษิณ ชินวัตร" ในเวที “Forbes Global CEO Conference”
ภายหลัง กนง.มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบกว่า 4 ปี จาก 2.50% สู่ระดับ 2.25% ต่อปี ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ในไทยต้องทยอยประกาศปรับลดดอกเบี้ยลงตาม แล้วประชาชนคนไทยได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการลดดอกเบี้ยครั้งนี้
มติ กนง.ลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี เหลือ 2.25% ต่อปี มองสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ และช่วยบรรเทาภาระหนี้ครัวเรือน พร้อมจับตาหนี้เสียอย่างใกล้ชิด ปฏิเสธเจอแรงกดดันจากการเมืองให้ลดดอกเบี้ย ขณะที่สำนักวิจัยระบุลดดอกเบี้ยสวนทางตลาด
การลดดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็นส่งผลดีกับรัฐบาลและภาคธุรกิจ แต่ไม่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องรายย่อยที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน ทีดีอาร์ไอหนุน ธปท.ปรับโครงสร้างหนี้ แนะรัฐบาลทุ่มงบเพิ่มทักษะผู้ประกอบการระดับล่าง
กระแสการเมืองส่งคนนั่งบอร์ดแบงก์ชาติ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต "สมชัย จิตสุชน" อดีตกนง.มองว่าหากการเมืองส่งคนเข้ามา มีความเสี่ยงมากขึ้นจากความเชื่อมั่น แม้อาจไม่ถึงขั้นหายนะ ขึ้นกับการทำงานมากกว่า หากยึดหลักตามมาตรฐานวิชาชีพและมองระยะยาว
การขอข้อมูลการเงินของตัวเองข้ามสถาบันการเงิน ไม่ใช่เรื่องยากและเสียค่าใช้จ่ายอีกต่อไป เมื่อธปท.เปิดตัว Your Data ให้เจ้าของบัญชีสามารถส่งข้อมูลทางการเงินในรูปแบบดิจิทัลในสถาบันการเงิน ให้กับสถาบันการเงินอื่น ๆ ได้ เพื่อใช้ขอสินเชื่อ และบริหารทางการเงิน คาดว่าจะเริ่มใช้งานได้ในปี 2569
ผู้ว่าธปท.มองปัญหาหนี้ของประเทศรุนแรงขึ้น เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ การแก้ปัญหาต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย และต้องขจัดอคติเพื่อหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน วิจารณ์นโยบายรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มา มุ่งเน้นเห็นผลระยะสั้น ไม่คำนึงผลระยะยาว เป็นตัวซ้ำเติมวิกฤติหนี้ยืดเยื้อและแก้ไขยากขึ้นในอนาคต
รายงานประชุม กนง. ส่งสัญญาณไม่รีบปรับลดอัตราดอกเบี้ย ประเมินเศรษฐกิจไทยขยายตัวเข้าสู่ระดับศักยภาพ และเงินเฟ้อขยับเข้ากรอบล่างเป้าหมายปลายปี 67 แต่กังวลหนี้เสียเริ่มขยายวงไปยังกลุ่มรายได้สูง พร้อมเฝ้าระวังกระทบเศรษฐกิจ
ธปท.เผยสถานการณ์หนี้ไทยยังแย่ต่อเนื่อง ตัวเลขหนี้เสีย หรือ NPL ในไตรมาส 2 ปี 67 ปรับเพิ่มขึ้นทั้งระบบ โดยเฉพาะหนี้เสียกลุ่มบัตรเครดิตและบ้านที่ขยับขึ้นมากสุด พร้อมจับตามการชำระหนี้ธุรกิจ SMEs และหนี้ครัวเรือน คาดอาจหนุนให้หนี้เสียทยอยเพิ่มขึ้นอีก
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% ต่อเนื่อง มองเศรษฐกิจไทยยังขยายตัว แต่จับตาใกล้ชิดสถานการณ์หนี้เสียที่แย่ลง หวั่นกระทบเศรษฐกิจประเทศ
เศรษฐกิจไทยเติบโตลดลงมาตั้งแต่ต้นปี 67 และมีแนวโน้มจะแย่ลงเรื่อย ๆ จากปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานาน แม้นโยบายการเงินจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ไม่มาก แต่ก็มีการคาดว่า กนง.อาจยอมลดดอกเบี้ย 1 ครั้งในปลายปี 67 เพื่อลดแรงกดดันเศรษฐกิจในประเทศ
หนี้ครัวเรือนกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของไทย เพราะสูงเกิน 90% ต่อจีดีพีมานานหลายปี และส่วนใหญ่เป็นหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว ในขณะที่หากไปดูบางประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนา แม้มีหนี้ครัวเรือนระดับสูง แต่เป็นหนี้ที่ลงทุนเพื่ออนาคต
กนง.คงดอกเบี้ยในระดับสูงต่อเรื่อง 2.5% ต่อปี แต่รอบนี้คณะกรรมการฯเห็นต่างแค่ 1 เสียง ซึ่งส่วนใหญ่มองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดี ส่วนเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมาจากปัจจัยชั่วคราวคาดสิ้นปี 67 ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย
แม้ว่ากนง.จะเผชิญกับแรงกดดันจากรัฐบาลให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่สำนักวิจัยกรุงศรีคาดการณ์ กนง.จะไม่ลดดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี 67 หลังเศรษฐกิจไทยแนวโน้มเติบโตกว่าที่คาดการณ์ไว้ และเงินเฟ้อเริ่มกลับมาเป็นบวกขยับเข้ากรอบเป้าหมาย
แบงก์ชาติ เตรียมปรับประมาณการจีดีพี คาดเศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่องจากเครื่องยนต์ท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่อาจฟื้นตัวแบบไม่ทั่วถึง พร้อมจับตาเงินเฟ้อใกล้ชิดหลังพลิกบวกครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เชื่อใกล้ขยับเข้ากรอบล่างของเป้าหมาย 1-3%
ธปท.ชี้ไทยต้องเริ่มปรับตัวภาคธุรกิจให้ลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ป้องกันตกขบวนการค้าโลก พร้อมให้สถาบันการเงินพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อสีเขียวให้ครอบคลุมธุรกิจ SMEs ที่ถือเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจ
หนี้ครัวเรือนในไตรมาสแรกปีนี้จะปรับลดลงเล็กน้อยจากระดับ 91% เพราะจีดีพีขยายตัว แต่ปัญหายังคงอยู่ เพราะหากระดับที่ทำให้เศรษฐกิจยั่งยืนแล้ว สัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะต้องไม่เกินระดับ 80% ของจีดีพี
มุมมอง ผู้ว่า ธปท. กับแรงปะทะทางการเมือง เป็นเรื่องปกติของธนาคารกลางทุกแห่ง โดยรัฐบาลส่วนใหญ่จะมีมุมมองแค่ระยะสั้นไม่คำนึงผลข้างเคียง พร้อมยอมรับว่าการที่นายกรัฐมนตรี นั่งควบตำแหน่ง รมว.คลัง ถือเป็นความท้าทายในการทำงานร่วมกัน
มติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อ 2.50% กนง.พร้อมยินดีรับฟังข้อเสนอจากทุกฝ่าย ถือเป็นความหวังดีและเป็นประโยชน์ หลังถูกกดดันหนักจากรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่ส่งสัญญาณถึง 3 ครั้งให้ลดดอกเบี้ยหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไม่เห็นด้วยหากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะขึ้นดอกเบี้ย เพราะจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หรือฉุดเศรษฐกิจชะลอตัว