บทความ

ดัชนีรับรู้ทุจริตปี 67 ไทยได้ 34 คะแนน ต่ำสุดรอบ 12 ปี
ผลการสำรวจดัชนีรับรู้การทุจริต วัดความโปร่งใสของภาครัฐทั่วโลก ประจำปี 2567 ไทยได้ 34 คะแนน รั้งอันดับ 5 ของอาเซียน และอันดับ 107 ของโลก ถือเป็นคะแนนต่ำสุดในรอบ 12 ปี

สร้างกลไกต้านโกง พัฒนาท้องถิ่นยั่งยืน
ปล่อยให้การทุจริตกัดกินสังคมไทยมานานแค่ไหน ? ถึงเวลาแล้วที่ “หลังการเลือกตั้ง อบจ. 2568” จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้ทุกคนร่วมมือกันสร้างกลไกตรวจสอบผู้นำท้องถิ่น เพื่อหยุดยั้งการคอร์รัปชัน และพลิกฟื้นบ้านเราให้กลับมาสดใสอีกครั้ง

อีสานและความยากจน ที่พวกเราบ่นเพราะอยากให้มีคนได้ยิน
ภูมิภาคอีสานได้รับงบประมาณในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แต่ความยากจนก็ยังคงแพร่หลายในกลุ่มประชากร โดยเฉพาะเกษตรกร แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายแก้ปัญหาแต่ก็ยังมีคำถามว่าช่วยลดความยากจนได้จริงหรือไม่ นำมาสู่ข้อเสนอเรื่องการลดช่องว่างในการคอร์รัปชันงบประมาณที่จะเป็นกุญแจสำคัญช่วยลดความเหลื่อมล้ำและยากจน

ขยายคุมเข้มบัญชีม้า ให้แบงก์ร่วมรับผิดชอบ
ธปท.ผลักดันแนวทาง "ร่วมรับผิดชอบ" แก้ปัญหาบัญชีม้า เตรียมกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบของธนาคารพาณิชย์ ให้เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบ หากเกิดความเสียหาย เผยแก๊งคอลเซ็นเตอร์พัฒนาไปอีกขั้น ฟอกเงินผ่านคริปโทฯ เตรียมขยายคุมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล

พ.ร.ก.ไซเบอร์ คุมเข้มคอลเซ็นเตอร์ มีผล ก.พ. 68
รัฐบาลเร่งคุมแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ไฟเขียวพระราชกำหนดไซเบอร์ฉบับใหม่ คุมเข้มธุรกรรมสีเทา และ เพิ่มอำนาจ กสทช.-ค่ายมือถือระงับเบอร์โทร รวมถึงคุมฟอกเงินผ่านคริปโทเคอเรนซี่ เร่งคืนเงินผู้เสียหายไม่ต้องรอยื่นศาล เพิ่มโทษผู้เกี่ยวข้อง พร้อมให้แบงก์-ค่ายมือถือร่วมชดใช้ค่าเสียหาย

สร้างเมืองที่โอบรับสุขภาพจิตได้ ก่อนจะสายเกินไป
ปัญหาเรื่องสุขภาพจิต ไม่ได้ส่งผลเสียเฉพาะตัวบุคคลแต่ยังกระทบไปถึงสังคมในวงกว้าง และเชื่อมโยงต่อเนื่องไปถึงมิติทุจริต คอร์รัปชัน โจทย์ใหญ่ของประเทศไทยคือ เราจะสร้างเมืองอย่างไรให้พร้อมโอบรับประชาชน เพื่อลดการเกิดปัญหาสุขภาพจิตของทุกช่วงวัยในอนาคตได้

กิโยตินกฎหมาย ลดการใช้ดุลพินิจ เพื่อลดคอร์รัปชัน
การทุจริตในกระบวนการอนุมัติและการอนุญาตในภาครัฐยังคงเป็นปัญหาที่สำคัญในประเทศไทย กฎหมายที่มากมายไม่ทันยุคสมัย การใช้ดุลพินิจส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ในการอนุมัติต่างๆ กลายเป็นช่องทางที่เปิดโอกาสให้เกิดการเรียกรับและการจ่ายสินบน จนเกิดการเรียกชื่อการจ่ายสินบนจากกระบวนการนี้ไปต่าง ๆ นานา

ไทยฮับกาสิโนโลก: ทางสองแพร่ง เศรษฐกิจหรือฟอกเงิน?
เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ หรือสถานบันเทิงครบวงจร กำลังจะผลักดันให้ไทยกลายเป็นฮับกาสิโน อันดับ 3 ของโลก หากเปิดเต็มที่ 5 แห่ง คาดจะมีรายได้แซงสิงคโปร์ในปี 2031 แต่อดีตกรรมการป.ป.ช. เตือนกำลังสุ่มเสี่ยงจะเป็นแหล่งทุจริตและฟอกเงิน แบบ "กู่ไม่กลับเลย"

นโยบายที่ประชาชนมีส่วนร่วม ลดโอกาสทุจริต
การมีนโยบายที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน สามารถเสริมสร้างความโปร่งใสและลดโอกาสในการเกิดการทุจริต โดยการเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการนโยบายตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงการตรวจสอบ จะช่วยสร้างความโปร่งใสและลดโอกาสการทุจริตเชิงนโยบายได้อย่างยั่งยืน

ความร่วมมือต่อต้านคอร์รัปชันระดับภูมิภาคผ่าน ASEAN – PAC
ปัญหาคอร์รัปชันกลายเป็นปัญาระดับโลกที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและการลงทุนระหว่างประเทศ การรวมตัวกันของหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันผ่าน ASEAN-PAC มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามทุจริต

พลวัต 'อภิบาล' สู่เป้าหมาย 'ความยั่งยืนอย่างเป็นธรรม'
ธรรมาภิบาล เป็นแนวคิดสำคัญในการบริหารจัดการที่ต้องเน้นความโปร่งใส ความเป็นธรรม และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและลดการทุจริต แต่ในประเทศไทยการนำนโยบายธรรมาภิบาลไปใช้กลับถูกจำกัดให้อยู่ในกรอบของระบบราชการและข้าราชการเป็นศูนย์กลางของอำนาจ

นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านหลักธรรมาภิบาล
การนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในแต่ละภาคส่วน นับเป็นอีกกลไกสำคัญในการเพื่อลดปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน การที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมจำเป็นต้อง ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในการขับเคลื่อนงานด้านธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชันให้เกิดขึ้น

การต่อสู้กับคอร์รัปชันในภาคเอกชน
วงจรคอร์รัปชัน ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในภาครัฐแต่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะภาคเอกชนซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกมิติตั้งแต่สถานการณ์ ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางแก้ไขคอร์รัปชันจึงยึดโยงกับเอกชนและส่งต่อผลกระทบไปยังระบบเศรษฐกิจของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ความร่วมมือระดับนานาชาติและภูมิภาคในการต่อต้านคอร์รัปชัน
การทุจริตคอร์รัปชันในปัจจุบันมีความซับซ้อนและส่งผลกระทบเสียหายรุนแรง แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยการการส่วนร่วมของทุกประเทศทั่วโลก ทั้งองค์กรระหว่างประเทศ และประชาชนทั้งในระดับนานาชาติ และในประเทศ

ความจริงและ ความหวังในการต่อต้าน 'คอร์รัปชันเชิงนโยบาย' ของไทย
การคอร์รัปชันเชิงนโยบาย (Policy Corruption) ส่งผลเสียหายถึงปีละ 2.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก และเป็นอุปสรรคต่อการจัดสรรทรัพยากรและการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยที่ผ่านมาในส่วนของประเทศไทยยังไม่เห็นมาตรการแก้ปัญหาที่เข้าใจกระบวนการแก้ไขเชิงระบบที่ซับซ้อน

เพิ่มเจ้าหน้าที่รัฐ 16 ตำแหน่ง ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน
ป.ป.ช. ออกประกาศฉบับใหม่ เพิ่ม 16 ตำแหน่งเจ้าพนักงานรัฐ ระดับผู้ช่วยเลขาธิการและผู้อำนวยการ ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเพิ่มเติม มีผลบังคับใช้ใน 60 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา

"อุบัติเหตุ-เสียชีวิต"พุ่งหลังโควิด จากรถโดยสารมากสุด
อุบัติเหตุจากรถโดยสารสาธารณะพุ่งขึ้นอย่างน่าตกใจหลังจากยุคโควิด-19 พบสถิติเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตมากที่สุด แนะรัฐบาลต้องแก้ปัญหาอย่างจริงจัง เข้มงวดมาตรฐานคนขับและรถโดยสาร ในขณะที่เจ้าหน้าที่รัฐต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด

Anti-SLAPP Law : ความหวังใหม่ในการต่อต้านคอร์รัปชันไทย
การฟ้องปิดปาก หรือ SLAPP ถูกนำมาเป็นเครื่องมือขัดขวางการตรวจสอบหรือ ปกป้องประโยชน์สาธารณะ ขณะที่ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายให้ความช่วยเหลือผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากการฟ้องปิดปาก ดังนั้น การเร่งออกกฎหมายป้องกันการฟ้องคดีปิดปากจึงเป็นอีกกลไกสำคัญสู่การตรวจสอบและป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน

1 ปี รัฐบาลเพื่อไทย แก้ปัญหาคอร์รัปชันถึงไหนแล้ว!
“ผมเชื่อมั่นครับ ว่าภายใต้รัฐบาลนี้ ปัญหาคอร์รัปชันจะลดลง ความโปร่งใสและเป็นธรรมจะเพิ่มมากขึ้น และตามมาด้วยความน่าเชื่อถือ การยอมรับจากประชาชนและนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางที่ดีต่อเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนทุกคน”

ให้อำนาจท้องถิ่นเสนอกฎหมาย: กรณีศึกษาจากเชียงคาน
ชาวตำบลเชียงคาน ร่วมกันเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.การเข้าชื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น พ.ศ. 2565 เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนาวิถีวัฒนธรรมชุมชน หวังเป็นวัคซีนทางสังคม ในการสร้างกฎกติกาที่ชัดเจน บังคับใช้ร่วมกันอย่างยั่งยืน แก้ปัญหาความขัดแย้งจากการพัฒนา

ทำไมรัฐบาลเพื่อไทย ไม่มีนโยบายแก้คอร์รัปชัน
คำแถลงนโยบายรัฐบาลของนาวสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความคล้ายกับของนายเศรษฐา ทวีสิน ในหลาย ๆ นโยบาย และที่คล้ายกันอย่างน่าประหลาดใจคือ ทั้งสองรัฐบาลไม่มีการระบุเกี่ยวกับนโยบายการปราบปรามการทุจริต ราวกับว่าสังคมไทยไม่มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล

กระบวนการยุติธรรม "เรื่องใหญ่" แก้ทุจริต
เปิดรายงานวิเคราะห์ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของสำนักงานป.ป.ท. ในปี 2566 พบค่าดัชนีแย่ลง อาจมาจากสังคมสงสัยการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ พร้อมข้อเสนอแก้ไขกระบวนการยุติธรรมให้มีความโปร่งใส และให้ประชาชนเข้าถึงได้

หาหลักธรรมาภิบาลใน “สามก๊ก” เพื่อตอบโจทย์ยุคสมัย
“สามก๊ก” พงศาวดารชื่อดัง อยู่คู่สังคมไทยมานาน ที่มีคนกล่าวถึงทุกยุคทุกสมัย และตีความต่าง ๆ กัน กล่าวขานเรื่องที่เต็มไปด้วยเรื่องกลยุทธ์เล่เหลี่ยมต่าง ๆ ในการศึกสงคราม และช่วงชิงอำนาจทางการเมือง แต่วันนี่้ มีการอ่าน "สามก๊ก" อีกมุม โดยเสาะหา "หลักธรรมาภิบาล" ในยุคที่สังคมไทยมีปัญหารุนแรง

กระตุ้นอสังหาฯ-จี้ลดดอกเบี้ย เมื่อการเมืองวนลูปเดิม
คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ โดยอ้างว่าเพื่อสนับสนุนประชาชนมีที่อยู่อาศัย และเตรียมรองรับการกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมระดับโลก โดยจะผ่อนปรนเงื่อนไขให้ต่างชาติ แต่ไม่ใช่มาตรการใหม่ ล้วนเป็นมาตรการเดิม ๆ ที่เคยดำเนินการมาแล้วในยุคก่อน และเคยถูกวิจารณ์ว่า "ผลประโยชน์ทับซ้อน"

ฟอกที่ดินรัฐ ปัญหารากลึกในสังคมไทย
กรณีหลักหมุดที่ดินส.ป.ก. 4-01 ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ดูเหมือนจะเริ่มคลี่คลาย เมื่อรัฐบาลเข้าไปจัดการปัญหา โดยประกาศนโยบายใหม่ว่าจะยกเลิกการออกที่ดินส.ป.ก.ในเขตชายขอบอุทยานทั้งหมดทั่วประเทศ หลังเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์นับสัปดาห์และคนไทยทั่วไปรับไม่ได้กับกระบวนการ "ฟอกที่ดินอุทยาน"

8 ขั้นตอนออกแบบนโยบายสาธารณะ เพื่อแก้ปัญหาประเทศตรงจุด-ยั่งยืน
หน่วยงานรัฐไทยกำลังประสบปัญหาในขับเคลื่อนนโยบาย จนนำไปสู่ความล้มเหลวของโครงการจำนวนมาก และยังปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน จึงมีคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับนโยบายสาธารณะไทย ล่าสุด TPLab เสนอวิธีการออกแบบนโยบายสาธารณะที่จะทำให้มีข้อมูลเพียงพอ ทันสมัย และแก้ปัญหาประชาชนได้ตรงจุดอย่างมีประสิทธิภาพ

ดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ไทยร่วง อับดับที่ 108 โลก
ดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ประจำปี 2566 ประเทศไทย ได้ 35 คะแนน จัดอยู่ในอันดับที่ 108 ของโลก และอยู่อันดับ 4 ในอาเซียน แนะไทยต้องปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้มีความเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซง

บทเรียนจากท่าเรือคลองใหญ่ ความสูญเปล่าจากประเมินผิดพลาด
แลนด์บริดจ์ กำลังเผชิญกับคำถามเรื่องการประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจว่าคุ้มค่าตามที่สำนักนโยบายและแผนขนส่งและจราจร(สนข.) รายงานผลการศึกษาหรือไม่ เพราะบรรดานักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการขนส่งทางเรือเห็นว่า "เป็นไปได้ยาก"

Mechanism Design : วิธีการสร้าง "การยอมรับ-เชื่อมั่น" ในนโยบาย
มารู้จักกับแนวคิด “การออกแบบกลไก (Mechanism Design)” เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ออกแบบกลไกหรือวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สังคมตกลงกันหรือผู้กำหนดต้องดำเนินการ ยึดเป้าหมายมากกว่าวิธีการ โดยผู้มีส่วนได้เสียยอมรับและเชื่อมั่น

ไทยเป็นสมาชิก OECD "ไม่ง่าย" ใกล้ความจริงอีก 2 ปี
รัฐบาลยังเผชิญกับการท้าทายหลายด้าน ในเรื่องการปฏิรูปกฎระเบียบในประเทศในหลายประเด็น หลังจากเดินหน้ายื่นหนังสือแสดงเจตจำนงขอเข้าเป็นสมาชิก OECD เมื่อเข้าสู่ความร่วมมือในระยะเวลา 3 ปี พ.ศ. 2566 – 2568

#ตั๋วเพื่อไทย ขอตำแหน่ง ‘ผู้กำกับ’ ไม่ใช่เรื่องใหม่วงการกากี
‘ระบบอุปถัมภ์’ คอร์รัปชันการแต่งตั้งโยกย้าย ฝังรากลึกวงการตำรวจไทย ล่าสุดนายกฯ หลุดปากมี สส.ขอตำแหน่งให้ผู้กำกับ ก่อนแก้ต่างว่าไม่มีอำนาจโยกย้ายตำรวจ พร้อมถอดความจากกฎหมาย ใครคือผู้แต่งตั้งผู้กำกับ

ทุจริตคอร์รัปชัน กฎหมายดี แต่ปัญหายังหนัก
การปฏิรูประบบราชการและการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน เป็นนโยบายของทุกรัฐบาล แต่ยังไม่มีรัฐบาลไหนสามารถแก้ปัญหาได้ โดยประเด็นดังกล่าวในความรู้สึกของประชาชนจากการสำรวจของสำนักวิจัยต่าง ๆ กลับพบว่าประชาชนมีความเห็นว่าสถานการณ์รุนแรงขึ้น